ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2010

2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: บทสรุป

เขียนมาขนาดนี้ไม่มีบทสรุปก็กระไรอยู่ ผมสรุปออกเป็นตอน ง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์และจะไม่ขยายความต่อนะครับ สรุป ภัยพิบัติน้ำท่วมต้องมีแผนการรองรับ รูปแบบการประกาศเตือนที่หลากหลาย จุดอพยพที่แน่นอน ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที่ ฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมตลอดเวลา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่งต้องมีบทบาทในการเตรียมแผนภัยพิบัติให้มากกว่านี้เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ประสบภัยย่อมทำงานได้เร็วกว่ารอความช่วยเหลือจากส่วนกลาง มีช่องทางร้องขอความช่วยเหลือที่หลากหลายและเพียงพอ ลองพิจารณาวิธีการสื่อสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมบ้างนะครับ มีศูนย์ข้อมูลที่ฉับไวและประสานกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที ต้องมีการจัดการอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ แบ่งภาระศูนย์บรรเทาทุกข์ออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วอย่าลืมดูแลทุกข์สุขของอาสาสมัครด้วยนะครับ อาสาภาคประชาชนพึ่งทำงานกับประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น ประสานข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ลดการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อม มีการฝึกซ้อมรับมืออยู่สม่ำเสมอ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ภัยพิบัติคือบทเรียน เตรียมพร้อมอย่างมีสติ ฝึกซ้อมเมื่อมีโอกาส จะได้ลดการสูญเสียให้มากที่สุด ไม่ใช้หาดใหญ่เท่านั้นที่น้ำท...

2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: น้ำลด

ข้อเขียนของผมใกล้ถึงจุดหมายแล้วเหลือเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น แต่ตอนนี้มาติดตามกันต่อว่าน้ำลดแล้วเกิดอะไรขึ้นกับชาวหาดใหญ่บ้าง น้ำลด ตั้งแต่มีเหตุการณ์น้ำท่วมมาผมไม่มีโอกาสได้เข้าไปดูในเมืองหาดใหญ่เลยว่ามีสถานการณ์เป็นเช่นไรบ้างเนื่องจากวุ่นอยู่กับการขนของและจัดเตรียมอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการนั้นเอง หลังจากปิดศูนย์ที่ธรรมสถาน ม.อ. วันที่ 6 พฤศจิกายน น้องข้าวได้ชวนให้ไปแจงถุงดำของทางสถานีวิทยุ FM88 (ชีวิตผมวุ่นวายอยู่กับที่นี่จริงๆ) แต่ต้องไปกับรถจักรยายนต์ตัวเองครับ เนื่องจากได้ข่าวว่าสภาพในเมืองนั้นยากที่จะเข้าถึงตรอกซอกซอยได้หากโดยสารด้วยรถขนาดใหญ่ ผมมีโอกาสได้ไปแจกที่แถบทุ่งเสาและจันทร์วิโรจน์ สภาพพูดได้ว่าดูแทบไม่ได้ เนื่องจากกองขยะที่ชาวบ้านได้เอามากองไว้ที่ริมถนนรอให้เทศบาลนครหาดใหญ่มาเก็บกวาด และสภาพถนนที่เต็มไปด้วยโคลน หลายๆ ท่านอาจได้ชมไปบ้างแล้วทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่หลายๆ ช่องได้นำเสนอไปแล้วนั้น เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่น้ำลดเกือบทั้งหมดของพื้นที่หาดใหญ่จึงส่งผลให้ชาวบ้านออกมาทำความสะอาดบ้านเรือนกันมาก ขยะเลยมากตามไปด้วย โชคดีที่วันนี้ยังไม่มีแมลงวัน การแจกจ่ายถุงดำทำ...

2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: อาสาสมัคร

มีหลายแง่มุมที่เราลืมไปว่าอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยควรจะต้องเตรียมตัวและเตรียมใจอย่างไรบ้าง ติดตามข้อมูลจากที่ใดได้บ้าง แล้วจะเพิ่มประสิทธิภาพของอาสาสมัครได้อย่างไร ข้อเขียนนี้อาจจะมีตำหนิบ้าง ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผมพบเจอ อาจจะไม่ถูกใจใครหลายๆ คน แต่ต้องบันทึกไว้เพื่อหาแนวทางแก้ไขเมื่อประสบภัยพิบัติในครั้งหน้า จะได้มีการจัดการทีดีขึ้น ใครไม่ชอบงานเขียนที่ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดโปรดหยุดอ่านแต่เพียงเท่านี้เพราะจะทำให้อาสาสมัครหลายๆ ท่านเสียกำลังใจ ครับ อาสาสมัครนักศึกษา ในเมื่อผมเป็นนักศึกษาผมคงเขียนเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวก่อนครับ การที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยนั้นเป็นเรื่องดีมากเพราะนักศึกษาสามารถเข้าช่วยเหลือการทำงานของศูนย์ได้อย่างสนิทใจและไม่เคอะเขินมากนัก เป็นการฝึกเรื่องจิตอาสาหรือจิตสำนึกสาธารณะไปในตัว แต่สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นเหตุการครั้งแรกๆ ในชีวิตนักศึกษาก็เป็นได้ นักศึกษาหลายท่านจึงยังไม่ค่อยเข้าใจว่าการเป็นอาสาสมัครควรปฏิบัติตนเช่นไร บางคนอาจคิดว่าการเป็นอาสาสมัครคือการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือนร้อนอย...

2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: น้ำท่วม

จากเรื่องที่แล้ว 2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: น้ำมา คราวนี้มาดูกันว่านน้ำท่วมจะเป็นอย่างไร ผมในฐานะเป็นสมาชิกคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจะเล่าให้ฟังว่ามหาวิทยาลัยทำอะไรไปบ้าง และความช่วยเหลือที่ประสบพบเห็นมีอะไรบ้างครับ น้ำท่วม เมื่อเริ่มเช้าวันที่ 2 พฤศจิกายนผมลองมาเช็คข่าวทางทวิตเตอร์ปรากฏว่าน้ำได้ท่วมขังมีระดับสูงในหลายพื้นที่ หลายคนที่พอจะใช้ทวิเตอร์ได้เช่น @ tichatak ก็บอกระดับน้ำพร้อมขอความช่วยเหลือเพราะอย่างนำเด็กเล็กๆ ออกไปจากพื้นที่ ในวันนี้แท็ก #hdyflood เริ่มมีคนใช้กันมากขึ้นจึงสามารถตามแท็กนี้ได้ง่ายขึ้น มารู้อีกครั้ง #dotcafe ก็จมไปกับสายน้ำ @ifine ถึงแม้ว่าน้ำจะท่วมร้านก็ยังมาช่วยรายงานสถานการณ์น้ำท่วม (พี่แกให้เหตุผลท่วมแล้วทำไรไม่ได้ ทำที่มีประโยชน์ดีกว่า ได้ใจจริงพี่บ่าวเรา :P) ในวันนี้เครือข่ายโทรศัพท์เริ่มมีปัญหาไม่สามารถโทรศัพท์ใด้ เริ่มมีคนขอความช่วยเหลือทางทวิตเตอร์และเว็บไซต์ hdyflood.com มากขึ้น ปัญหาต่อมาที่ทำให้ @win_chayin และ @ifine เริ่มหนักใจคือ แล้วเราจะประสานกับผู้ให้ความช่วยเหลือได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ในตอนแรกตั้งใจจะทำเว็บขึ้นเพื่อรายงานสถานการณ์น้ำท่วมเท่านั้...

2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: น้ำมา

ข้อเขียนนี้เขียนขึ้นเนื่องในโอกาสน้ำท่วมหาดใหญ่ในปี 2553 โดยเหตุการณ์เริ่มเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยจะแบ่งเรื่องเล่าออกเป็นตอนๆ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และสถานที่ที่ผมเข้าไปช่วยทำงานครับ ข้อเขียนนี้เขียนขึ้นตามความคิดเห็นของผมอาจกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของอาสาสมัครและผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหลายกรณี ดังนั้นหากผู้ใดอ่านแล้วขัดต่อความรู้สึกกรุณาหยุดอ่านเพราะจะทำให้หงุดหงิด ได้ครับ น้ำมา ถึงแม้ว่าผมจะประสบพบเจอเหตุการณ์น้ำท่วมมาแล้วหลายครั้ง แต่ตอนนั้นยังเป็นเด็กไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มากนัก (เพื่อนนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง หลายคนคงทาบกันดี) แต่สำหรับครั้งนี้ผมได้เข้าร่วมช่วยเหลือในหลายส่วนงาน (ส่วนใหญ่ได้รับการร้องขอมาอีกที) จึงทำให้เห็นหลายด้านของการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่ปี 2553 นี้ ได้มีฝนตกก่อนน้ำท่วมมาแล้วประมาณ 2 วัน โดยวันก่อนหน้าจะเป็นฝนหนักสลับเบาตามปรกติของหน้าฝนภาคใต้ทั่วไป แต่สำหรับวันที่ 1 พฤศจิกายนนั้นฝนกลับตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตา ในเมื่อฝนตกหนักก็เป็นไปตามคาดที่แรกที่น้ำเริ่มท่วมขังคือ แถบหอพักบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ ...