ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2553 น้ำท่วมหาดใหญ่: อาสาสมัคร

มีหลายแง่มุมที่เราลืมไปว่าอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยควรจะต้องเตรียมตัวและเตรียมใจอย่างไรบ้าง ติดตามข้อมูลจากที่ใดได้บ้าง แล้วจะเพิ่มประสิทธิภาพของอาสาสมัครได้อย่างไร ข้อเขียนนี้อาจจะมีตำหนิบ้าง ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดต่างๆ ที่ผมพบเจอ อาจจะไม่ถูกใจใครหลายๆ คน แต่ต้องบันทึกไว้เพื่อหาแนวทางแก้ไขเมื่อประสบภัยพิบัติในครั้งหน้า จะได้มีการจัดการทีดีขึ้น ใครไม่ชอบงานเขียนที่ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดโปรดหยุดอ่านแต่เพียงเท่านี้เพราะจะทำให้อาสาสมัครหลายๆ ท่านเสียกำลังใจครับ

อาสาสมัครนักศึกษา
ในเมื่อผมเป็นนักศึกษาผมคงเขียนเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวก่อนครับ การที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยนั้นเป็นเรื่องดีมากเพราะนักศึกษาสามารถเข้าช่วยเหลือการทำงานของศูนย์ได้อย่างสนิทใจและไม่เคอะเขินมากนัก เป็นการฝึกเรื่องจิตอาสาหรือจิตสำนึกสาธารณะไปในตัว แต่สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นเหตุการครั้งแรกๆ ในชีวิตนักศึกษาก็เป็นได้ นักศึกษาหลายท่านจึงยังไม่ค่อยเข้าใจว่าการเป็นอาสาสมัครควรปฏิบัติตนเช่นไร บางคนอาจคิดว่าการเป็นอาสาสมัครคือการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือนร้อนอย่างถึงลูกถึงคน ถ้าน้ำท่วมต้องออกไปพายเรือช่วยผู้ประสบภัย หรือลงพื้นที่แจกข้าวของหากได้รับการอนุญาติ ผมไม่ใช้อาสาสมัครมืออาชีพแต่ผมอยากจะเสนอมุมมองว่าหากน้องๆ เป็นอาสาสมัครควรพิจารณาเรื่องใดบ้าง
อาสาสมัครควรทำงานถนัดตามทักษะที่มี มากกว่าไปทำงานที่ตัวเองยังไม่พร้อม ที่ผมกล่าวอย่างนี้เนื่องจากงานที่ตัวเองถนัดนั้นอาสาสมัครอาจทำได้ดีกว่า ลองนึกถึงว่าหากเราไม่ใช้พยาบาลแต่เราต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้วทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยไม่มีความรู้ตามหลักการปฐมพยาบาล อาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยอาจเป็นเรื่องใหญ่ได้เมื่อถึงมือหมอ หลายคนยังไม่เห็นภาพผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดกว่านั้น หากเราใช้ทวิตเตอร์อยู่เป็นประจำ แทนที่เราจะไปเบียดเสียดกับอาสาสมัครคนอื่นๆ ที่มาช่วยขนของ เราเพียงแต่ช่วยรายงานความต้องการของศูนย์ช่วยเหลือลงทางทวิตเตอร์ เช่นโรงพยาบาลต้องการเลือด ศูนย์ข้าวสารหมด ฯลฯ เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยงานทางศูนย์ได้อย่างมากมาย ถึงแม้ว่าไม่หวือหวาแต่มีประโยชน์มากทีเดียวเนื่องจากผู้ที่ติดตามอยู่ทางทวิตเตอร์อาจจะช่วยจัดหาสิ่งของบริจาคได้ตามที่ทางศูนย์ต้องการ ถ้าหากไม่มีงานที่ถนัดในศูนย์ก็ให้พิจารณาว่าเราสามารถช่วยเหลืออะไรให้กับศูนย์ได้บ้าง มัดข้าวมัดแกง จัดถุงยังชีพ ทำบัญชี ตรวจสอบรายการถุงยังชีพ หรือแม้แต้ล้างถ้วยล้างจาน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้นครับไม่เป็นก็ฝึกหัดกันได้ไม่ยากมากนักเพียงแต่งานบางอย่างต้องอาศัยคำว่าจิตอาสาอย่างแท้จริง เห็นได้จากการที่ถ้วยชามหม้อไหจะไม่เห็นเด็กผู้ชายล้างเลยปล่อยให้เหล่าอิสตรีทำความสอาดอยู่เพียงฝ่ายเดียว บางคนล้างจนมือเปลื่อยมือลอกก็ยังต้องล้างเพราะถ้าไม่มีใครล้างจะเอาภาชนะที่ไหนประกอบอาหารให้ผู้ประสบภัย
เตรียมตัวให้พร้อม พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมรับสถานการณ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้นอาสาสมัครไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเจอสถานการณ์อย่างใดบ้าง การพบเจอกับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้อาจเป็นการเพิ่มความเดียดโดยไม่รู้ตัว สถานการณ์ความวุ่นวายต่างๆ อาจทำให้เราเหนื่อยได้โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย ยกตัวอย่างที่ง่ายๆ ที่หลายๆ คนอาจเจอมา หากไปแจกข้าวหรือน้ำในวันแรกหากได้รับคำต่อว่าจากผู้ประสบภัยเช่น "แจกแค่นี้อย่าแจกดีกว่า" หรือบอกให้เข้าแถวแต่กลับโดนแย่งสิ่งของไปต่อหน้าต่อตา อาสาบางคนอาจจะโกรธ บางคนอาจจะหงุดหงิด แต่ขอให้เข้าใจไว้ว่าผู้ประสบภัยย่อมไม่วางใจให้เราจัดระเบียบได้มากนักในเมื่อสิ่งที่เขาต้องการอยู่ต่อหน้า สิ่งเหล่านั้นอาจจะจำเป็นมากจนผู้ประสบภัยอาจมองข้ามหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างไป อาสาสมัครควรเข้าใจสภาพการและพยายามหาวิธีจัดการความไม่เป็นระเบียบให้ได้เพื่อการแจกจ่ายสิ่งของได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้อาสาสมัครควรดูแล้วตัวเองให้พร้อมรับประทานอาหารให้อิ่มเมื่อถึงเวลาไม่ควรปล่อยจนหิว เนื่องจากเราไม่อาจรู้ว่าหากเราหิวข้าวแล้วเราจะได้กินข้าวหรือเปล่าความต้องการให้เราช่วยเหลืออาจประดังเข้ามาเวลาดังกล่าวก็ได้เข้าสูตรที่ว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" หากเราหิวข้าวจนเป็นลมแทนที่จะได้ช่วยคนอื่นกลับกลายเป็นว่าอาสาสมัครท่านอื่นต้องมาช่วยท่านเองก็เป็นได้ครับ
ลงพื้นที่คิดหน้าคิดหลังสักนิด เนื่องจากการที่ได้ไปอยู่ศูนย์ช่วยเหลือ 1 วันผมได้ยินเสียงเรียกร้องจากนักศึกษาหลายท่านอยากลงภาคสนามช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ท่านทั้งหลายควรเข้าใจว่าการลงพื้นที่นั้นไม่ใช้เรื่องง่าย ขนาดเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญยังโดนน้ำซัดไปอยู่กลางคลองอู่ตะเภา แล้วอาสาสมัครที่ไม่เคยฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญ ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างเพรียบพร้อมพูดได้คำเดียวว่าออกไปตาย!!! ขนาดทหารหรือหน่อยกู้ภัยที่ฝึกมาอย่างดียังไม่มั่นใจที่จะปฏิบัติภาระกิจในบางสถานการณ์เลย แต่ถ้าหากมีรถขนาดใหญ่และสูงอย่างรถขนส่งของทหาร อาสาสมัครสามารถโดยสารไปได้อย่างปลอดภัยเรื่องนี้คงไม่ขัดข้องครับ เพราะก่อนจะช่วยคนอื่นพึ่งระลึกไว้ว่าตัวเองต้องปลอดภัยก่อนนะครับ อาสาสมัครที่เป็นนักศึกษาบางท่านยังบรรลุนิติภาวะ หากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างที่ออกไปช่วยผู้ประสบภัยแล้วคณาจารย์ที่รับผิดชอบศูนย์จะทำอย่างไร อาจโดนผู้ปกครองต่อว่าจนเสียคนไปเลยก็ได้ครับ แถมยังเป็นตราบาปของอาจารย์ไปตลอดชีวิต
การช่วยเหลือคนทุกงานสำคัญเท่ากันหมด ผมอาจมองในแง่ร้ายเกินไปสักหน่อยแต่อยากจะบอกน้องๆ อาสาสมัครว่างานทุกงานสำคัญเท่ากันหมด ไม่จำเป็นต้องออกไปแจกข้าวออกไปช่วยเหลือคนก็ได้ ในข้อนี้ผมอาจจะใช้ข้อความที่รุนแรงกับอาสาสมัครที่ออกไปเสี่ยงอันตรายแจกข้าวแจกน้ำสักหน่อย ถึงแม้ท่านจะลงพื้นที่แต่ไม่ควรยกตนข่มท่าน(หมายถึงอาสาสมัครที่หุงข้าว ทำแกง มัดถุงแกงหรือทำบัญชีของช่อยเหลือ)โดยไม่รู้ตัว ผมได้ยินหลายคนเล่าด้วยความภาคภูมิใจว่าไปทำอะไรมาบ้างให้คนในศูนย์ฟัง แถมบางคนมากดดันพูดย้ำๆ ว่าต้องการอาหารจำนวนกี่ชุดเพื่อไปช่วยที่ใหน แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความกดดันให้กับคนที่ไม่ลงพื้นที่ทั้งสิ้น มันอาจจะเป็นปมเล็กๆ จนมีน้องๆ บางคนถามผมว่า "ทำไมเราต้องมานั่งทำอย่างนี้ ทำไม่เราไม่ได้ไปบ้าง" การที่อาสาสมัครอยู่ในที่เดิมๆ บางคนนั่งมัดถุงแกงอยู่ 3-4 ชั่วโมง ทำงานเดิมซ้ำไปซ้ำมามันมีความเครียดสะสมอยู่เพียงพอแล้ว และการที่เขาเหล่านั้นปรุงอาหารเพื่อให้พวกท่านออกไปแจกจ่ายนั้นก็เป็นบุคคลสำคัญไม่ใช่น้อยเพราะอาหารไม่ใช้หรือที่ผู้ประสบภัยต้องการ หากผลิตอาหารไม่เพียงพอต่อให้ท่านอาสาสมัครที่ไปแจกมามายเพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ อาสาสมัครทุกท่านพึงให้ความสำคัญกับงานทุกงานเพราะการทำงานเปรียบเหมือนห่วงโซ่ที่ต่อเนื่องขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ควรมีการสับเปลี่ยนงานกันบ้างตามความเหมาะสม สลับคนที่ทำงานที่ศูนย์ไปลงพื้นที่บ้าง คนที่เคยลงพื้นที่มาทำงานที่ศูนย์บ้าง จะเป็นการลดความเครียดในหารทำงานลงได้
ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีอารมณ์ขันเพื่อการทำงานที่สดใส การให้กำลังใจในหมู่อาสาสมัครกันเองเปรียบเป็นน้ำทิพย์ที่ช่วยชโลมหัวใจในระหว่างทำงาน ภาวะเครียดในการทำงานที่แข่งขันกับความต้องการของผู้ประสบภัยมีมาก แต่การพูดคุยเพื่อชื่นชมผลงานของหมู่คณะและมีอารณ์ขันบ้างตามแต่โอกาสจะช่วยให้มีบรรยกาศในการทำงานดีขึ้น ถึงแม้ว่าการที่ผู้คนมากมายจะประสบภัยพิบัติจะเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่เราต้องยิ้มสู้ครับ :D

อาสาสมัครภาคประชาชน
ผมได้เห็นผู้คนมากมายลงมาเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมหาดใหญ่ซึ่งใจมากครับ แต่ผมยังสะท้อนใจอยู่เล็กน้อยว่าการมาของเขาเหล่านั้นได้ติดต่อประสานงานกับคนในพื้นที่ไว้บ้างหรือไม่ถึงความช่วยเหลือที่คนในพื้นที่ต้องการหรือสภาพพื้นที่และสถานการณ์ในเวลานั้น ในความเห็นผม ภาคประชาชนควรทำงานกับประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้นควรวางแผนร่วมกับภาครัฐอย่างใกล้ชิด เสริมในส่วนที่ภาครัฐขาด จัดการอาสาสมัครให้ครอบคลุมความต้องการความช่วยเหลือเนื่องจากประชาชนย่อมมากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว รัฐมีเครื่องมือส่วนประชาชนมีกำลังครับ ผมไม่มีส่วนร่วมกับอาสาสมัครภาคประชาชนมากนัก ถ้าเป็นไปได้อยากให้คนที่มีส่วมร่วมมาอธิบายมากกว่า

การบริหารจัดการอาสาสมัคร
ผมพบว่าการจะช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการที่เชี่ยวชาญ อาจหมายถึงต้องการมืออาชีพมาดูแล จากการที่ผมพบเจอมานั้น นอกจากศูนย์ ม.อ. จะมีอาสาสมัครมากแล้ว ศูนย์ย่อยของภาคประชาชนยังขาดอาสาสมัครมาช่วยดูแลในส่วนต่างๆ ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากนัก ยกตัวอย่างเรื่องการทำอาหารที่ผู้นำของไปแจกจ่ายต้องมารอรับของที่ศูนย์ ม.อ. เนื่องจากอุปกรณ์มีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการมีมาก จึงเกิดการรอคอยเกิดขึ้น อันที่จริงแล้วน่าจะมีการรวมศูนย์การจัดการให้เป็นระบบ มีการแบ่งภาระงานและอาสาสมัครไปยังที่ต่างๆ แล้วคอยประสานงานกับอาสาสมัครที่ทำหน้าที่แจกจ่ายสิ่งของอีกทอดหนึ่งหรือคอยประชาสัมพันธ์ความต้องการของศูนย์ต่างๆ ตัวอย่างที่ศูนย์ ม.อ. อะไรก็มาที่ ม.อ. ไม่ว่าจะเป็นของบริจาคก็มา ม.อ. รับของแจกก็มา ม.อ. รอความช่วยเหลือก็มา ม.อ. ถึงแม้ ม.อ. จะมีกำลังคนมาเพียงใดแต่ทรัพยากรณ์ก็ยังจำกัดอยู่ดี
ผมมีโอกาสไปช่วยลำเลียงข้าวของขึ้นเฮลิคอปเตอร์โดยการประสานงานของสถานีวิทยุ FM88 ให้กับ ตชด. อยู่หนึ่งวัน การติดต่อประสานงานทำได้ยากในขณะที่เฮลิคอปเตอร์ต้องจอดรอข้าวของเพื่อลำเลียงไปช่วยผู้ประสบภัย เนื่องจากศูนย์ ม.อ. มีผู้ต้องการรับความช่วยเหลือจำนวนมากในแต่ละหน่วยงาน ส่งผลให้ข้าวของที่ออกจากศูนย์ ม.อ. ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียมจึงต้องมีการรอคอยบ้าง พี่กุลอาจารย์ที่ทำงานกับ FM88 ต้องประสานงานไปที่ธรรมสถานเพื่อขอรับข้าว ซึ่งยังดีที่ได้มาบ้างแต่ในความเป็นจริงแล้วเฮลิคอปเตอร์อาจมีความจุที่สามารถลำเลียงได้มากกว่าและสามารถเดินทางเข้าถึงผู้ประสบภัยที่อยู่ห่างไกลและอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือภาคพื้นดิน ความล้าช้าในการประสานงานส่งผลให้มีช่วงเวลาที่หยุดคอยอยู่เป็นระยะๆ แทนที่จะได้ทำงานอย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้มากขึ้นก็อาจไม่เป็นดังคาดหมาย ทางทีมงานของน้องข้าวจึงต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ลำเลียงเป็นคนมัดถุงข้าวที่ธรรมสถานด้วยประการฉะนี้แล
ความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เป็นอาสาสมัคร การบริหารเวลาของอาสาสมัครและกำหนดหน้าที่ที่ชัดเจนก็ช่วยทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามมันต้องยืดหยุ่นได้ตามแต่โอกาสอำนวย เพราะการกำหนดหน้าที่จะทำให้รู้ว่าใครต้องทำอะไร การกำหนดเวลาจะช่วยให้อาสาสมัครไม่เคร่งเครียดกับหน้าที่นั้นๆ จนเกินไป ผมเคยนั่งมัดข้าวตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 15.00 น. มาแล้วแรกๆ ก็สนุกดีแต่พอลุกขึ้นเท่านั้นแหละ ความปวดเมื่อยทั้งหลายก็ประดังเข้ามาอย่างไม่ลดละ ผมคิดว่าเหตุการณ์อย่างนี้คงไม่เกิดกับผมแค่คนเดียวอย่างแน่นอน

ขอบคุณอาสาสมัครด้วยใจริง
ถึงแม้ว่าหลายๆ เรื่อง เราอาจจะบริหารจัดการได้ไม่ดีพอ แต่น้ำใจของอาสาสมัครและคนในพื้นที่นั้นล้นหลามจริงๆ เรียกได้ว่าทำงานด้วยใจจริงกันเลยทีเดียว ได้ยินว่าบางคนนั่งรอเพื่อที่จะขนของบริจาคที่ลำเลียงมาจากช่องสามเพื่อลงเก็บยังศูนย์ ม.อ. ซึ่งจะใช้แจกจ่ายต่อไป ถึงแม้ว่าไม่ยืนยันว่าจะมาถึงหรือไม่แต่ก็รอด้วยใจที่จะช่วยเหลือ ผมไม่อาจเป็นตัวแทนของใครเพื่อกล่าวคำขอบคุณ แต่ผมขอบอกให้อาสาสมัครทุกท่านรู้ว่าดอกไม้แห่งน้ำใจของอาสาสมัครทุกๆ ท่านได้บานอยู่บนหัวใจของผู้ประสบภัยเรียบร้อยแล้วครับ o/\o

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)