ข้อเขียนนี้เขียนขึ้นเนื่องในโอกาสน้ำท่วมหาดใหญ่ในปี 2553 โดยเหตุการณ์เริ่มเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยจะแบ่งเรื่องเล่าออกเป็นตอนๆ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และสถานที่ที่ผมเข้าไปช่วยทำงานครับ ข้อเขียนนี้เขียนขึ้นตามความคิดเห็นของผมอาจกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของอาสาสมัครและผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหลายกรณี ดังนั้นหากผู้ใดอ่านแล้วขัดต่อความรู้สึกกรุณาหยุดอ่านเพราะจะทำให้หงุดหงิดได้ครับ
น้ำมา
ถึงแม้ว่าผมจะประสบพบเจอเหตุการณ์น้ำท่วมมาแล้วหลายครั้ง แต่ตอนนั้นยังเป็นเด็กไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มากนัก (เพื่อนนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง หลายคนคงทาบกันดี) แต่สำหรับครั้งนี้ผมได้เข้าร่วมช่วยเหลือในหลายส่วนงาน (ส่วนใหญ่ได้รับการร้องขอมาอีกที) จึงทำให้เห็นหลายด้านของการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่ปี 2553 นี้ ได้มีฝนตกก่อนน้ำท่วมมาแล้วประมาณ 2 วัน โดยวันก่อนหน้าจะเป็นฝนหนักสลับเบาตามปรกติของหน้าฝนภาคใต้ทั่วไป แต่สำหรับวันที่ 1 พฤศจิกายนนั้นฝนกลับตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตา ในเมื่อฝนตกหนักก็เป็นไปตามคาดที่แรกที่น้ำเริ่มท่วมขังคือ แถบหอพักบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ เนื่องจากเป็นที่ต่ำและอยู่ใกล้กับหนองน้ำนั่นเอง แต่ลางร้ายกว่านั้นคือน้ำเริ่มท่วมโรงช้างซึ่งเป็นแหล่งของกินหลักของนักศึกษา ม.อ. เนื่องจากโรงช้างตั้งอยู่ใกล้กับคลองขนาดเล็กซึ่งทำหน้าที่ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำของมหาวิทยาลัยนั้นเองโดยปรกติน้ำในคลองนี้แทบจะเรียกได้ว่าแห้งเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยจะเก็บน้ำเอาไว้ใช้เกือบตลอดทั้งปี หากน้ำเต็มคลองก็พอจะเข้าใจได้แล้วว่าอ่างเก็บน้ำไม่สามารถรองรับน้ำได้อีกแล้ว แต่คราวนี้ถึงกับท่วมแสดงว่าน้ำมากจริงๆ ในเมื่อน้ำมาอย่างนี้แถบที่อยู่อาศัยบริเวณทุ่งรีซึ่งอยู่ติดกับคลองระบายน้ำ น้ำมักท่วมเสมอเมื่อฝนตกหนักอย่างนี้ (ผมเลยกลับห้องพักไม่ได้ทั้งวันเนื่องจากระดับน้ำท่วมสูง) สภาพของคอหงส์-ทุ่งรีจะเป็นพื้นที่รับน้ำที่มาจากภูเขาต่างๆที่อยู่รายล้อม และมีการสร้างแก้มลิงเอาไว้ช่วยกักน้ำไว้ได้ระดับนีง เนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นที่สูงระดับน้ำจึงลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เบาใจได้ ระดับน้ำบริเวณทุ่งรีจึงลดลงตามไปด้วย ซึ่งน้ำจากทุกๆ ที่จะไหลรวมกันลงคลองอู่ตะเภาสายน้ำหลักของหาดใหญ่รวมทั้งคลองระบายน้ำตามแนวพระราชดำริอี 5 สาย จากการบอกเล่าของหลายๆ คน คลองนี้ยังรองรับน้ำจากสะเดาเพื่อระบายลงทะเลสาบสงขลาอีกด้วย
หลังจากระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นประชาชนทั่วหาดใหญ่ที่เคยมีประสบการณ์น้ำท่วมเริ่มที่จะเอารถยนต์มาจอดไว้ในที่ปลอดภัยซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองนี้ปลอดภัยที่สุด หรือแม้แต่ถนนหน้ามหาวิทยาลัย โลตัส หรือสถานที่อื่นๆ ที่คิดว่าน้ำคงไม่ท่วม พอน้ำเริ่มขึ้นสูงคนที่มาไม่ทันก็เริ่มเอารถไปจอดบนสะพานข้ามทางรถไฟ ส่วนคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็เริ่มเก็บของไว้ที่สูงๆ โดยใช้ระดับน้ำจากปี 2543 เป็นเกณฑ์ น้ำเริ่มทยอยท่วมเส้นทางที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีทางน้ำไหลไม่สะดวกเช่นสามแยกคอหงส์หน้าค่ายเสนานรงค์ และบริเวณอื่นๆ ตามลำดับ
รายงานสถานกรณ์น้ำท่วม
ในวันนี้มีการรายงานระดับน้ำทั้งวันเนื่องจากฝนตกหนัก ส่วนใหญ่รายงานกันทางวิทยุซึ่งมีผู้คนโทรมารายงานและขอความช่วยเหลือกันเป็นระยะๆ ส่วนตัวผมเองใช้ twitter เป็นหลักจึงอ่านรายงานของผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่นซึ่งอาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างจะครอบคลุมตัวเมืองหาดใหญ่เลยทีเดียว แรกๆ @udomtech (พี่หมี) แถวๆ ทุ่งเสา @MZWN (พี่หม้อ) ตัวเมืองหาดใหญ่ @ifine (พี่โก้) โรงพยาบาลกรุงเทพฯ @SammieChinmai (พี่แซม) รายงาน และ rt สถานการณ์น้ำ รวมทั้งประกาศต่างๆ หลังจากนั้นมี @igoyz (พี่ก้อย) สามชัย ถึงแม้บ้านจะเสี่ยงอยู่ในภาวะน้ำท่วมก็ยังไปถ่ายภาพสถานการณ์ต่างๆ มาให้เราได้ชมกัน @nam_pung (พี่ผึ้ง) โรงพยาบาลกรุงเทพฯ @win_chayin (วิน) @chobi_nizzy (หมอชอฟ) รายงานสถานการณ์แถวหอพักบุคลลากรคณะแพทย์ และสิ่งของในห้างสรรพสินค้าต่างๆ เนื่องจากเริ่มมีผู้คนทยอยหาซื้อสิ่งของมาเตรียมไว้ (ผมรู้ว่ามาม่าหมดโลตัสก็เพราะ @win_chayin นี่แหละครับ) @jarvaa แถว ธกส. หาดใหญ่ พอเริ่มเข้าช่วงเที่ยงก็มีข่าวว่าน้ำท่วมทุ่งรีโดย @melody_18 @haaneef @bukhoree สามหนุ่มแห่งพฤกษาแมนชัน อาจจะมีคนอื่นรายงานอีกมากแต่ผมไม่ได้ตามเนื่องจากแรกๆ ยังไม่ได้จิดแท็กเอาไว้ โดยที่ @udomtech จะใช้ #SouthFlood (พี่ยา @zakariiya เป็นคนเสนอนะครับ ถ้าจำไม่ผิด) กับ #ThaiFlood เป็นหลัก แต่ผมคิดว่ามันกว้างเกินไป และเราไม้ได้มีเครือข่ายทั้งภาคใต้ซึ่งในตอนหลัง @win_chayin ได้เสนอ #hdyflood แล้วมาลงตัวที่แท็กนี้
กำเนิด hdyflood
หลังจากเริ่มสถานการณ์ไม่ดี @win_chayin และ @chobi_nizzy คิดจะทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์เหตุการณ์ต่างๆ ของหาดใหญ่ขึ้นมา พอลองปรึกษาหลายคนเข้า hdyflood.com ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับช่วยถ่ายทอดเสียงจากสถานีวิทยุในพื้นที่เพื่อช่วยลดโหลดที่เข้าไปยังสถานี และกระจายไปให้ผู้ฟังที่ต้องการติดตามสถานการณ์ ต้องขอขอบคุณ @rtsp @khitichai @nytonkla @jingjun ที่ช่วยจัดการเรื่องโดเมน โฮส และการถ่ายทอดเสียง @baby_step และ @blueberryft ที่ช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ต่างๆ เพื่อสร้างหน้าเว็บให้เร็วที่สุด @lewcpe ที่ช่วยสร้าง map ใน google เพื่อใช้รายงานสภาพพื้นที่น้ำท่วมได้ดีขึ้น ซึ่งเว็บ hdyflood.com นี้เกิดขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.อ. แต่เมื่อเสถียรแล้วก็ย้ายกันไปรวมศูนย์ที่ #dotcafe ร้านกาแฟที่ใช้นั่งกันทุกวันอาทิตย์ของชาวทวิตเตอร์หาดใหญ่ #twitHY ซึ่งเจ้าของร้านก็คือ @ifine กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่อย่างขะมักเขม้น ในระหว่างที่ hdyflood.com เกิดขึ้นนี้เพจใน facebook ชื่อ HDYflood ก็เกิดขึ้น และบัชชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @hdyflood ก็เกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งสามอย่างนี้บริหารจัดการโดย @win_chayin และ @ifine ผู้เกาะติดสถานการณ์เกือบ 24 ชั่วโมง
เมื่อเรามีช่องทางสื่อสารแล้วหลายๆ คนในกลุ่ม #twitHY เช่น @melody_18 @haaneef @bukhoree @makissy ฯลฯ ได้แบ่งทีมออกไปสำรวจบริเวณน้ำท่วมและเส้นทางที่ยังพอจะใช้งานได้อยู่ หลายพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับ หลายที่ยังท่วมขัง ซึ่งการที่ฝนเริ่มหยุดตก และน้ำลดระดับได้ทำให้เราเบาใจได้ในระดับนึง แต่จริงๆ แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากที่มันลดระดับเพราะน้ำจากหาดใหญ่ไหลไปรวมที่อื่น เช่นเดียวกับน้ำจากที่อื่นไหลมาหาดใหญ่ ตอนประมาณใกล้รุ่งของวันที่ 2 พฤศจิกายน น้ำได้ท่วมหลายพื้นที่เพิ่มขึ้นรวมทั้ง #dotcafe ด้วย ซึ่งหมายความว่าตัวเมืองหาดใหญ่น่าจะท่วมกันจนมิดเลยทีเดียว
หลังจากระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นประชาชนทั่วหาดใหญ่ที่เคยมีประสบการณ์น้ำท่วมเริ่มที่จะเอารถยนต์มาจอดไว้ในที่ปลอดภัยซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองนี้ปลอดภัยที่สุด หรือแม้แต่ถนนหน้ามหาวิทยาลัย โลตัส หรือสถานที่อื่นๆ ที่คิดว่าน้ำคงไม่ท่วม พอน้ำเริ่มขึ้นสูงคนที่มาไม่ทันก็เริ่มเอารถไปจอดบนสะพานข้ามทางรถไฟ ส่วนคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็เริ่มเก็บของไว้ที่สูงๆ โดยใช้ระดับน้ำจากปี 2543 เป็นเกณฑ์ น้ำเริ่มทยอยท่วมเส้นทางที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีทางน้ำไหลไม่สะดวกเช่นสามแยกคอหงส์หน้าค่ายเสนานรงค์ และบริเวณอื่นๆ ตามลำดับ
รายงานสถานกรณ์น้ำท่วม
ในวันนี้มีการรายงานระดับน้ำทั้งวันเนื่องจากฝนตกหนัก ส่วนใหญ่รายงานกันทางวิทยุซึ่งมีผู้คนโทรมารายงานและขอความช่วยเหลือกันเป็นระยะๆ ส่วนตัวผมเองใช้ twitter เป็นหลักจึงอ่านรายงานของผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่นซึ่งอาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างจะครอบคลุมตัวเมืองหาดใหญ่เลยทีเดียว แรกๆ @udomtech (พี่หมี) แถวๆ ทุ่งเสา @MZWN (พี่หม้อ) ตัวเมืองหาดใหญ่ @ifine (พี่โก้) โรงพยาบาลกรุงเทพฯ @SammieChinmai (พี่แซม) รายงาน และ rt สถานการณ์น้ำ รวมทั้งประกาศต่างๆ หลังจากนั้นมี @igoyz (พี่ก้อย) สามชัย ถึงแม้บ้านจะเสี่ยงอยู่ในภาวะน้ำท่วมก็ยังไปถ่ายภาพสถานการณ์ต่างๆ มาให้เราได้ชมกัน @nam_pung (พี่ผึ้ง) โรงพยาบาลกรุงเทพฯ @win_chayin (วิน) @chobi_nizzy (หมอชอฟ) รายงานสถานการณ์แถวหอพักบุคลลากรคณะแพทย์ และสิ่งของในห้างสรรพสินค้าต่างๆ เนื่องจากเริ่มมีผู้คนทยอยหาซื้อสิ่งของมาเตรียมไว้ (ผมรู้ว่ามาม่าหมดโลตัสก็เพราะ @win_chayin นี่แหละครับ) @jarvaa แถว ธกส. หาดใหญ่ พอเริ่มเข้าช่วงเที่ยงก็มีข่าวว่าน้ำท่วมทุ่งรีโดย @melody_18 @haaneef @bukhoree สามหนุ่มแห่งพฤกษาแมนชัน อาจจะมีคนอื่นรายงานอีกมากแต่ผมไม่ได้ตามเนื่องจากแรกๆ ยังไม่ได้จิดแท็กเอาไว้ โดยที่ @udomtech จะใช้ #SouthFlood (พี่ยา @zakariiya เป็นคนเสนอนะครับ ถ้าจำไม่ผิด) กับ #ThaiFlood เป็นหลัก แต่ผมคิดว่ามันกว้างเกินไป และเราไม้ได้มีเครือข่ายทั้งภาคใต้ซึ่งในตอนหลัง @win_chayin ได้เสนอ #hdyflood แล้วมาลงตัวที่แท็กนี้
กำเนิด hdyflood
หลังจากเริ่มสถานการณ์ไม่ดี @win_chayin และ @chobi_nizzy คิดจะทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์เหตุการณ์ต่างๆ ของหาดใหญ่ขึ้นมา พอลองปรึกษาหลายคนเข้า hdyflood.com ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับช่วยถ่ายทอดเสียงจากสถานีวิทยุในพื้นที่เพื่อช่วยลดโหลดที่เข้าไปยังสถานี และกระจายไปให้ผู้ฟังที่ต้องการติดตามสถานการณ์ ต้องขอขอบคุณ @rtsp @khitichai @nytonkla @jingjun ที่ช่วยจัดการเรื่องโดเมน โฮส และการถ่ายทอดเสียง @baby_step และ @blueberryft ที่ช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ต่างๆ เพื่อสร้างหน้าเว็บให้เร็วที่สุด @lewcpe ที่ช่วยสร้าง map ใน google เพื่อใช้รายงานสภาพพื้นที่น้ำท่วมได้ดีขึ้น ซึ่งเว็บ hdyflood.com นี้เกิดขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.อ. แต่เมื่อเสถียรแล้วก็ย้ายกันไปรวมศูนย์ที่ #dotcafe ร้านกาแฟที่ใช้นั่งกันทุกวันอาทิตย์ของชาวทวิตเตอร์หาดใหญ่ #twitHY ซึ่งเจ้าของร้านก็คือ @ifine กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่อย่างขะมักเขม้น ในระหว่างที่ hdyflood.com เกิดขึ้นนี้เพจใน facebook ชื่อ HDYflood ก็เกิดขึ้น และบัชชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @hdyflood ก็เกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งสามอย่างนี้บริหารจัดการโดย @win_chayin และ @ifine ผู้เกาะติดสถานการณ์เกือบ 24 ชั่วโมง
เมื่อเรามีช่องทางสื่อสารแล้วหลายๆ คนในกลุ่ม #twitHY เช่น @melody_18 @haaneef @bukhoree @makissy ฯลฯ ได้แบ่งทีมออกไปสำรวจบริเวณน้ำท่วมและเส้นทางที่ยังพอจะใช้งานได้อยู่ หลายพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับ หลายที่ยังท่วมขัง ซึ่งการที่ฝนเริ่มหยุดตก และน้ำลดระดับได้ทำให้เราเบาใจได้ในระดับนึง แต่จริงๆ แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากที่มันลดระดับเพราะน้ำจากหาดใหญ่ไหลไปรวมที่อื่น เช่นเดียวกับน้ำจากที่อื่นไหลมาหาดใหญ่ ตอนประมาณใกล้รุ่งของวันที่ 2 พฤศจิกายน น้ำได้ท่วมหลายพื้นที่เพิ่มขึ้นรวมทั้ง #dotcafe ด้วย ซึ่งหมายความว่าตัวเมืองหาดใหญ่น่าจะท่วมกันจนมิดเลยทีเดียว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น