ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2009

Blognone: Creative Commons ประเทศไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ข่าวจาก Blognone เรื่องของ Creative Commons เป็นโครงการแปลงสัญญาอนุญาต Creative Commons ให้ใช้งานกับระบบกฎหมายในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วโดยจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 2 เมษายนนี้ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ตรงข้ามมาบุญครอง) เวลา 13.00-16.00 น. สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Creative Commons ประเทศไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใครเป็นเจ้าของผลงานเห็นด้วยกับสัญญาอนุญาติก็สามารถร่ววใช้งานได้ทันทีครับ แล้วจะใช้กับ Blogger ยังไงดีหว่า

AmBraille with JAVA

หลังจากตัดสินใจอยู่นานว่าจะเขียน AmBarille ด้วยภาษาอะไรดี ตอนแรกจะใช้ C++ แต่คิดไปคิดมาเราทำงานหลักๆ บน Linux แต่คนส่วใหญ่ใช้ Windows หากเขียนไปก็มีคนใช้น้อยอีกเลยตัดสินใจพัฒนาบนจาวาดีกว่า เพื่อให้ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งเพื่อการเอาไปทำงานอย่างอื่นได้ด้วยใหนๆ ก็มี libbraille.org ไว้สำหรับใช้งานบน Linux แล้วเพื่อเป็นการไม่ซ้ำซ้อนกับทีมงานเดิมจึงตัสินใจไปเพิ่ม Translation table ให้กับโปรเจ็คนี้ดีกว่า เพื่อเป็นการเผยแพร่สองทางโดย Ambraille เน้นการใช้งานของ end user บวกกับการพัฒนาตัวอ้างอิง สำหรับ translation ภาษาไทย เพื่อขจัดปัญหา และเผยแพร่ source code ให้เป็นที่รู้จัก แต่จะเน้นการทำงานโดยใช้อักขระ UTF-8 เป็นหลักครับจะเป้นอย่างไรเดี๋ยวรู้กัน

Debianclub: การติดตั้ง svn server ร่วมกับ apache อย่างง่าย

พักนี้ชักเขียนบทความที่ debianclub บ่อยจัง อีกบทความคือ การติดตั้ง svn server ร่วมกับ apache อย่างง่าย เป็นเรื่องการติดตั้ง svn server โดยใช้งานร่วมกับ apache ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมากสำหรับการพัฒนาซอฟร์แวร์ มีอะไรติชมก็สามารถแนะนำได้นะครับ

Debianclub: Driver printer HP LaserJet 1020

หลังจากง่วนอยู่กับปริ้นเตอร์ HP LaserJet 1020 บน Linux อยู่นาน ก็ใช้งานได้สักทีโดยขั้นตอนการลง Driver บน Debian ได้เขียนไว้ที่ Debianclub เรื่อง Driver printer HP LaserJet 1020 ใครที่ใช้ Ubuntu หรือ Debian กันอยู่ก็ลองทำตามดูเผื่อจะช่วยเหลือได้บ้างนะครับ

บทความทางวิชาการของคนไทยในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันไม่ว่าสถานศึกษาใดก็ตาม มักส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอกเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอักกฤษ เพื่อส่งเสริมให้เสนอต่อที่ประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ การส่งเสริมเช่นนี้เป็นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการไทยจริงหรือ นี้เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจผมขณะที่เรียนปริญญาโทอยู่ในขณะนี้ เหตุที่ผมคิดเช่นนั้นเรื่องจากบทความทางวิชาการบางอย่างที่เราทุ่มเทศึกษาค้นคว้าขึ้นมานั้น บางครั้งเต็มไปด้วยความยากลำบากซึ่งการจะนำเสนอบทความเหล่านั้นต่อที่ประชุมวิชาการในระดับนานาชาติก็เป็นสิ่งที่สมควร แต่ก็มีคำถามที่เกิดขึ้นในใจผมเสมอว่า "แล้วประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากบทความเหล่านี้" หลายๆ คนอาจจะตอบว่า นานาชาติจะได้รู้ว่าคนไทยเก่ง ทำได้ แต่ผมกลับมองในทิศทางตรงกันข้ามเนื่องจากประชากรในประเทศไทยนั้นใช้ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ดังนั้นบทความเหล่านั้นแทบจะไม่มีประโยชน์เลยก็ว่าได้ เนื่องด้วยว่าบทความที่เป็นประโยชน์เหล่านั้นคนไทยที่ใช้ประโยชน์จริงๆ อ่านไม่ออก แปลออกมาแล้วความหมายไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของผู้เขียนเป็นต้น แล้วจะมีค่าอะไรต่อคนไทย จะกลายเป็นลิงได้แก้วหรือไม่ อันนี้เป็นประเด็นที่ต้องขบคิดกันต่อไป สุ...

เราเป็นคนไทย

ตอนที่เรียนลูกเสือสักม.1 เห็นจะได้มีครูลูกเสือท่านนึงที่ทางโรงเรียนเชิญมา ถ้าจำไม่ผิดท่านชื่อครูยาว ท่านสอนให้พวกผมร้องเพลงนึง ผมประทับใจมากและจำได้ดีจนถึงทุกวันนี้ เนื้อเพลงมีอยู่ว่า เราเป็นคนไทย พูดจาภาษาไทย เราใช้ของจากเมืองไทย แต่งกายแบบไทย เรากินของไทย และเที่ยวไปทั่วเมืองไทย เรารักผืนแผ่นดินไทย บ้านเกิดเมืองนอนของเรา มันเป้นเพลงที่เน้นให้ตระหนักว่า เราควรจะทำอะไรบ้างในฐานนะที่เกิดเป็นคนไทย เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีการประกาศเงินบาทลอยตัว ถ้าจำไม่ผิดก็คงเป้นวิกฤตต้มยำกุ้งที่เขาเรียกๆ กัน มาถึงตอนนี้ เพลงนี้น่าจะเอากลับมาร้องอีกครั้งเพื่อเป็นการรณรงค์ให้เราทุกคนช่วยชาติกัน ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ และทำได้จริง เพื่อกู้เศรฐกิจบ้านเราอีกครั้งกับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

นักวิชาการ VS ชาวบ้าน: มาตรา 112

บันทึกนี้เขียนขึ้นมิได้มีจุดประสงค์อื่นใดนอกจากแสดงความคิดเห็นว่า วงการนักวิชาการกับชาวบ้านทั่วไปเขาคิดกันอย่างไร ในขณะนี้มีเรื่องที่ทุกท่านน่าจะทราบกันดีตามข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ อาทิเช่น เรียนท่านผู้นำ โปรดอย่าบิดประเด็น-ป้ายสีคนที่เห็นต่างจากท่าน 4 คำถามสัมภาษณ์ ‘เกษียร เตชะพีระ’ เรื่องคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์กับ แต่ที่ยกตัวอย่างสองอันนี้ขึ้นมาเนื่องจากผมอ่านแล้วสะเทือนใจมากครับว่าทำไม่นักวิชาการ นักการเมือง เขาทำอะไรกันอยู่นะเนีย หากทุกคนต้องการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แล้วทำไมไม่ถามความเห็นชาวบ้านตาดำๆ ก่อนว่าคิดอย่างไรกันบ้าง ในเมื่อประชาธิปไตยมีจัยความหลักอยู่ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนตามที่ผมเรียนมา ถึงแม้ว่าประเทศไทยใช้ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน แต่ถามจริงว่ากฏหมายมาตรา 112 มันมีความสำคัญต่อคนไทยทั้งประเทศทำไมไม่ถามประชาชนสักหน่อยว่าพวกชาวบ้านอย่างผมรู้สึกอย่างไร ต้องการให้แก้ไขหรือเปล่า ผมไม่อาจจะตอบแทนคนเหล่านั้นได้ แต่ในใจแล้วผมขอย้อนกลับไปถามว่าแก้ไปทำไม หากคำตอบที่แว่วอยู่ในใจผมไม่ผิดพลาด มันหมายถึงแก้เพื่อที่จะสนองความต้องการบางอย่างของกลุ่มคนบางคนเท่านั้นเอง ซึ่งดูไ...

[i-CREATe 2009] Your paper has been accepted!

เมื่อเช้าพึงได้เมลล์ตอบกลับจาก i-CREATe 2009 หัวข้อตามด้านบนคือ "[i-CREATe 2009] Your paper has been accepted!" แสดงว่างานของผมที่ทำไว้ได้รับการตอบรับให้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ i-CREATe 2009 ที่สิงคโปร์ โดยมีรายระเอียด comment ดังข้างล่าง เอามาแสดงให้เห็นด้วยครับ ก็เรียบร้อยไปหนึ่ง paper เหลืออีกหนึ่ง paper ที่ต้องให้ผ่านให้ได้ แต่ที่จริงแล้วอีกอันนึงก็ส่งแล้วแต่ไม่ผ่านครับคงยังต้องแก้อีกนิดหน่อยแล้วค่อยส่งใหม่น่าจะดีกว่านี้ครับ *************************************************************** This abstract provides a very detailed account of the developmetn of a new technology to assist people with a visual impairment navigate their environment. Contrasts are made with existing tchnology and a high level of detal of the new product are provided. When presenting this paper at a conference, the authors would be advised to take into account that many in thier audience would benefit from a 'plain language' presentation, minimising the use of technical jargon. **********...

Debianclub: ดีบั๊กโปรแกรมด้วย GDB

มีโอกาศเขียนอีกบทความนึงชื่อ ดีบั๊กโปรแกรมด้วย GDB ไว้ที่ Debianclub.org เป็นการใช้งาน debugger เบื้องต้นบนระบบปฏิบัติการ Linux ด้วยโปรแกรม GDB ซึ่งเป็น Debugger ยอดนิยมตัวนึงก็ว่าได้ แต่บนความนี้แนะนำการใช้งาน gdb เบื้องต้นเท่านั้น ไม่ใช้การใช้งานขั้นสูง บทความนี้จึงเป้นคำแนะนำสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเขียนโปรแกรมบนระบบปฏบัติการลินุกซ์เบื้อนต้นเท่านั้นสำหรับการใช้งานข้นสูงสามารถศึกษาได้จาก GDB: The GNU Project Debugger