ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความทางวิชาการของคนไทยในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันไม่ว่าสถานศึกษาใดก็ตาม มักส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอกเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอักกฤษ เพื่อส่งเสริมให้เสนอต่อที่ประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ การส่งเสริมเช่นนี้เป็นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการไทยจริงหรือ นี้เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจผมขณะที่เรียนปริญญาโทอยู่ในขณะนี้ เหตุที่ผมคิดเช่นนั้นเรื่องจากบทความทางวิชาการบางอย่างที่เราทุ่มเทศึกษาค้นคว้าขึ้นมานั้น บางครั้งเต็มไปด้วยความยากลำบากซึ่งการจะนำเสนอบทความเหล่านั้นต่อที่ประชุมวิชาการในระดับนานาชาติก็เป็นสิ่งที่สมควร แต่ก็มีคำถามที่เกิดขึ้นในใจผมเสมอว่า "แล้วประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากบทความเหล่านี้" หลายๆ คนอาจจะตอบว่า นานาชาติจะได้รู้ว่าคนไทยเก่ง ทำได้ แต่ผมกลับมองในทิศทางตรงกันข้ามเนื่องจากประชากรในประเทศไทยนั้นใช้ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ดังนั้นบทความเหล่านั้นแทบจะไม่มีประโยชน์เลยก็ว่าได้ เนื่องด้วยว่าบทความที่เป็นประโยชน์เหล่านั้นคนไทยที่ใช้ประโยชน์จริงๆ อ่านไม่ออก แปลออกมาแล้วความหมายไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของผู้เขียนเป็นต้น แล้วจะมีค่าอะไรต่อคนไทย จะกลายเป็นลิงได้แก้วหรือไม่ อันนี้เป็นประเด็นที่ต้องขบคิดกันต่อไป สุดท้ายแล้วภูมิปัญญาที่นักวิชาการทั้งหลายพยายามศึกษาค้นคว้ากลับกลายว่าประเทศอื่นได้ใช้งานกันอย่างทั่วถึงยกเว้นคนไทย ผมไม่คัดค้านที่จะนำเสนอบทความทางวิชาการเหล่านั้นแก่นานาประเทศ เพียงแต่อยากให้แปลหรือรวบรวมออกมาเป็นภาษาไทยบ้างเท่านั้น เนื่องจากที่ว่าเงินทุนวิจัยส่วนใหญ่ก็มักเป็นภาษีที่ชาวบ้านตาดำๆเสียให้แก่รัฐ จึงควรคำนึงถึงคนไทยบ้าง ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่าผมวิจัยเรื่องการเพิ่มผลผลิตยางพาราในจังหวัดกระบี่ แต่จะมีคนกระบี่สักกี่คนที่อ่านภาษาอังกฤตออกแล้วนำมาใช้จริง ผมฟันธงว่าเกษตรกรที่จักหวัดกระบี่ ไม่ถึง 1% ที่นำมาใช้ได้ หรือแทบจะเป็น 0 เสียด้วยซ้ำ กว่าทั้งจังหวัดจะรู้ข่าวสารเหล่านี้ ก็ใช้เวลา 2-3 ปี เนื่องจากมีตัวอย่าง กรณีการเติมสารบางอย่างลงไปในน้ำยางเพื่อลดการเปลี่ยนสียาง(ถ้าผมจำไม่ผิด) กว่าที่บ้านผมจะรู้และใช้กันอย่างจริงจังก็ล่วงเลยไปแล้ว 10 เดือน เพราะได้ยินข่าวว่าที่หมู่บ้านอื่นเขาใช้กัน และไม่มีใครยืนยันว่าสามารถใช้ได้จริง ส่งผลให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในข่าวสารดังกล่าวด้วย

หากบทความเหล่านั้นมีประโยชน์ต่อคนไทยแล้ว น่าจะส่งเสริมให้แปลเป็นภาษาไทยด้วยเพื่อคนไทยจะได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง อย่างเพียงแต่คิดว่าชาวบ้านใช้ประโยชน์ไม่ได้แต่มันจะมีประโยชน์มากหากในอีก 2-3 ปีข้างหน้านักวิจัยรุ่นใหม่จะนำฐานความรู้ภาษาไทยเหล่านี้ไปบูรณาการความรู้กับศาสตร์ทางด้านอื่นๆ อย่างกว้างขวาง หากมองดูในสังคมอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลายๆ คนรณรงค์ให้ลด digital divide ลง แต่เหล่านักวิชาการมักจะเพิ่มช่องวางเหล่านี้ขึ้นมาเสมอ อีกทั้งเรายังไม่มีที่รวมรวมข้อมูลค้นคว้าวิจัยอย่างเป็นกิจจะลักษณะอีกด้วย คงยังอีกยาวไกลที่ประเทศไทยจะได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้อย่างแท้จริงนอกจากวงการวิชาการ

มันเป็นแค่ทัศนคติของผมเท่านั้นนะครับ โปรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และขอเน้นอีกครั้งผมไม่ได้ต่อต้านการนำเสนอบทความในระดับนานาชาติเพียงแต่เรียกร้องให้เรียบเรียงออกมาเป็นภาษาไทยด้วยเท่านั้นเองครับ

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ17 มีนาคม 2552 เวลา 14:37

    เห็นด้วยมากๆ
    คนในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
    แล้วมาแปลบทความภาษาอังกฤษ แถมแปลแล้วไม่รู้จะถูกตามเจตนารมณ์ของผู้เขียนมั้ย

    ถ้ามีการเรียบเรียงออกมาเป็นภาษาไทยด้วยจะมีประโยชน์กว่านี้

    ตอบลบ
  2. แหม๋อุสาห์มาเม้นนะเธอ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)