ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นักวิชาการ VS ชาวบ้าน: มาตรา 112

บันทึกนี้เขียนขึ้นมิได้มีจุดประสงค์อื่นใดนอกจากแสดงความคิดเห็นว่า วงการนักวิชาการกับชาวบ้านทั่วไปเขาคิดกันอย่างไร ในขณะนี้มีเรื่องที่ทุกท่านน่าจะทราบกันดีตามข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ อาทิเช่น

แต่ที่ยกตัวอย่างสองอันนี้ขึ้นมาเนื่องจากผมอ่านแล้วสะเทือนใจมากครับว่าทำไม่นักวิชาการ นักการเมือง เขาทำอะไรกันอยู่นะเนีย หากทุกคนต้องการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แล้วทำไมไม่ถามความเห็นชาวบ้านตาดำๆ ก่อนว่าคิดอย่างไรกันบ้าง ในเมื่อประชาธิปไตยมีจัยความหลักอยู่ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนตามที่ผมเรียนมา ถึงแม้ว่าประเทศไทยใช้ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน แต่ถามจริงว่ากฏหมายมาตรา 112 มันมีความสำคัญต่อคนไทยทั้งประเทศทำไมไม่ถามประชาชนสักหน่อยว่าพวกชาวบ้านอย่างผมรู้สึกอย่างไร ต้องการให้แก้ไขหรือเปล่า ผมไม่อาจจะตอบแทนคนเหล่านั้นได้ แต่ในใจแล้วผมขอย้อนกลับไปถามว่าแก้ไปทำไม หากคำตอบที่แว่วอยู่ในใจผมไม่ผิดพลาด มันหมายถึงแก้เพื่อที่จะสนองความต้องการบางอย่างของกลุ่มคนบางคนเท่านั้นเอง ซึ่งดูไปดูมาแล้วก็ยังไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของระบอบเท่าใดนักเนื่องจากกฏหมายมาตรานี้ไม่ทำให้ พ่อเฒ่า แม่เฒ่า ทั้งหลายเดือนร้อนแต่ประการใด เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเขียนไว้อย่างไรมีแต่นักวิชาการ และ นักการเมืองเท่านั้นที่ทำให้มันเดือดร้อนวุ่นวายไม่รู้จักจบจักสิ้น ในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ แทนที่ท่านนักวิชาการ จะเสนอแนวทางแก้ปัญหาเศรฐกิจ นักการเมืองจะตั้งใจทำงานกลับมากกัดกันเพื่อแย้งอำนาจ และปรามาสว่าด้อยปัญญา และอ้างว่าทำเพื่อประชาชน แต่ที่จริงแล้วชาวบ้านอย่างพวกผมไม่ต้องการอะไรไปกว่ามีทรัพย์สินพอเพียงต่อการดำรงชีวิต ไม่เป็นหนี้สินใครแค่นี้ชาวบ้านทั้งหลายก็พอใจมากแล้ว
มาตร 112 เมื่อถามว่ากระทบต่อบุคคลในวงกว้างหรือไม่ ผมก็ตอบว่าแทบจะมีแค่หยิบมือเดียวส่วนใหญ่แล้ว เป็นนักวิชาการที่เป็นนักเรียนนอก นักวิชาการที่มีความคิดตามอย่างแนวตะวันตก หรือประชาชนหัวสมัยใหม่เพียงหยิบมือเดียวที่ไม่เคยเข้าใจว่า สิทธิ และ หน้าที่ ต่างกันอย่างไร ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักจะดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศทั้งนั้น น้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายเหล่านี้ และน้อยคนนักที่จะเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมณูญ ก็ในเมื่ออำนาจมันบังตา มีอคติทั้ง 4 ประการอย่างบริบูรญ์ แล้วจะรู้ได้อย่างไร สู้ชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำก็ไม่ได้ทั้งๆ ที่มีความรู้น้อยก็ยังรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ของมนุษณ์ ใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามโอกาศอันควรอีกด้วย ผมว่านักวิชาการ นักการเมืองน่าจะอายตายายเหล่านี้บ้าง ทั้งๆที่ยืนอยู่บนภาษีที่พวกผมจ่ายเพื่อให้เป็นเงินเดือนของพวกท่านโดยแท้
มาตร 112 จึงไม่มีสาระที่จะนำมาพูดถึงเสียด้วยซ้ำ เพราะมันไม่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่เลย มีแต่นักโทษเท่านั้นแหละที่ร้องให้แก้กฏหมายเมื่อทำผิดเพราะถ้าผมจำไม่ผิดมันมีมานานตั้งแต่เรามีรัฐธรรมนูญมมาเลยก็ว่าได้เพียงแต่พึ่งมามีปัญหาในยุกต์นี้เท่านั้นเอง
รัฐธรรมนูญปี 2550 เป้นฉบับที่มาจากประชามติอย่างนั้นก็น่าจะให้เกียรติชาวบ้านตาดำๆ ที่อุตสาหะไปลงมติรับร่างบ้างไม่ใช้พอมีอะไรทำได้ลำบากแล้วไปอ้างว่ากฏหมายผิด ถามชาวบ้าเขายังรู้กันเลยว่าเพียงแต่เขาบรรยายออกมาเป็นสำนวนสวยๆดังนักวิชาการใช้กันไม่ได้เท่านั้นเอง เอะอะก็รัฐประหาร อะไรกันนิ พวกนักการเมือง ชาวบ้านเดือดร้อนรู้อะเปล่า ^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล...

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)...