ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลง Debian ใน Macbook Air รุ่นกลางปี 2012 แบบ dual boot

พอดีมีโอกาสทดลองลง Debian ใน Macbook Air น่าจะเป็นรุ่นกลางปี 2012 ของiErk hamham :D เลยบันทึกไว้สักหน่อยกันลืม ทำการติดตั้งโดยใช้อิมเมจ debian-wheezy-DI-b4-amd64-netinst.iso ซึ่งจะเป็น release ถัดไปของ Debian แต่การติดตั้งไม่ได้ง่ายอย่าง Macbook Air รุ่นก่อนหน้านัก เนื่องมาจากไดร์เวอร์ยังไม่รองรับอุปกรณ์บางอย่างนั้นเอง การติดตั้งเลยต้องหาข้อมูลพอสมควร ได้ข้อมูลจาก MacBookAir - Debian Wiki และ How to install Debian wheezy on MacBook Air, Version 5.1. (Tutorial) จึงติดตั้งได้

ในการติดตั้งต้องหาอุปกรณ์ต่อพ่วงจาก USB ไปเป็น Ethernet มาใช้งานด้วยเนื่องจาก linux kernel 3.2 ไม่สามารถใช้งาน Thuderbolt ไปเป็น Ethernet ได้ (เจ้าของซื้อตัวนี้มา) หรือต้องหา Driver WiFi มาติดตั้งพร้อมกันด้วย มิฉะนั้นจะติดตั้งได้แค่ base system ไม่สามารถติดตั้งเพกเกจอื่นๆ ได้ เมื่อเริ่มติดตั้งต้องเพิ่มออปชั่น noapic ด้วย โดยเมื่อเริ่มบูตแผ่นติดตั้งจะเข้าไปยังหน้า เมนูการติดตั้งของ Debian เลือกการติดตั้ง Debian แบบ text mode แล้วกด Tab เพื่อเพิ่มออปชั่น noapic จากนั้นก็เริ่ม boot ติดตั้งแบบปรกติทัั่วไป จนมาถึงการติดตั้ง grub หากติดตั้งแบบปรกติ ระบบจะเลือกเพกเกจ grub-pc ให้ และหากเราติดตั้ง rEFIt ใน OS X (โดยปรกติแล้วติดตั้งแบบนี้แล้วใช้งานได้เลย) ถึงแม้ว่าจะมองเห็นว่าเมนูของลินุกซ์ปรากฎอยู่ แต่ก็ไม่สามารถบูทได้โดยจะขึ้นข้อความว่า "No bootable device – insert boot disk and press any key" จากการหาข้อมูลอาจเป็นเพราะ firmware ของ Macbook Air นั้นเอง ประกอบกับ rEFIt นั้นไม่อัพเดตมาตั้งแต่ปี 2010 ดังนั้นก่อนการติดตั้ง grub ในเว็บไซต์แนะนำให้หยุดไว้แค่นั้นแล้วติดตั้ง grub-efi แทนตาม  How to install Debian wheezy on MacBook Air, Version 5.1. (Tutorial) แต่จากการทดลองติดตั้ง จะเกิด ERROR ไม่สามารถ modprobe efivars ได้ผมเลยใช้วิธีติดตั้งไปก่อน (อาจเป็นเพราะผมเลือกวิธีติดตั้งแบบธรรมดาแต่เขาแนะนำให้ใช้ expert installation ก็เป็นได้) แล้วค่อยบูทใหม่อีกครั้ง ด้วย Recovery Mode จากนั้นก็ใช้คำสั่ง # aptitude install grub-efi ก็ลงได้ปรกติดี ทดลองบูทใหม่จะปรกฏเมนูบูทด้วย grub2-efi ให้เลือก หากติดตั้ง rEFIt ไว้ก่อน (ยังไม่ทดลองว่า หากเอา rEFIt ออก จะยังใช้ได้หรือไม่ T__T กลัวทดลองมากเครื่องจะพังเพระไม่ใช้เครื่องผม) เลือกเมนูและบูทดูปรกฏว่าทำงานได้ดี แต่ก็นั้นแหละต้องติดตั้งไดเวอร์ WiFi เพิ่ม โดยเข้าไปแก้ apt sources.list เพิ่ม contrib non-free เข้าไปด้วย ใช้ # aptitude update; aptitude install firmware-brcm80211; aptitude install firmware-linux โดยปรกติผมใช้ sid เป็น repository หลักก็แก้ในคราวเดียวกันแล้วสั่ง # aptitude dist-upgrade ไปเลย บูทใหม่อีกรอบ WiFi ใช้งานได้ดีแต่ยังมีปัญหาไฟคีย์บอร์ดและพอร์ต Thunderbolt เนื่องจากเจ้าของเครื่องซื้ออุปกรณ์ต่อพวงพอร์ต Thunderbolt มาโดยใช้งานกับ Ethernet นั้นเอง จึงต้องขยับไปใช้ kernel 3.7 ที่อยู่ใน experimental ก็เลยลองติดตั้ง # aptitude install linux-image-3.7-trunk-amd64 -t experimental (การจะติดตั้งได้ต้องเพิ่ม experimental ลงใน sources.list ของ apt เสียก่อน) ปรับบูทออฟชันให้สามารถใช้งาน apic ได้ โดยแก้ที่ไฟล์ /etc/default/grub จาก GRUB_CMDLINE_LINUX="noapic" เป็น GRUB_CMDLINE_LINUX="" สั่งปรับปรุง grub menu อีกครั้ง # update-grub ทดลองบูทใหม่เลือก linux kernel 3.7 ผลปรากฎว่าใช้งานได้ดีใช้ Thunderbolt ได้ ไฟคีย์บอร์ดติด สามารถใช้งานคีย์ในการปรับแสงสว่างได้

ปล. Macbook Air ก็น่าเอามาลง Debian เหมือนกันนะ :D

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)