ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3 ปีแล้วที่ใช้ Debian

เหลือบไปเห็นทวีตของตัวเองเมื่อสามปีก่อนก็ระลึกได้ว่า 3 ปีแล้วนะที่ใช้ Debian ถ้านับกันจริงๆ แล้ว Debian เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันแรกที่ผมได้ไช้งานแต่ยังไม่รู้จัก (ปี 1 เรียนเขียนโปรแกรมบน unicorn ทุกวันนี้เปลี่ยนไปเป็น Ubuntu แล้วมั่ง) ตอนแรกเป็น Text mode ก็ใช้งานตามที่อาจารย์แนะนำให้ใช้ก็สนุกดี เรียนเขียนโปรแกรมภาษา C++ บนนี้จนจบ เหตุที่บอกว่าไม่รู้จักเนื่องจากใช้งานมันผ่านทาง Terminal ถึงแม้จะเป็นว่ามีคำว่า Debian อยู่บ้างก็ไม่ค่อยได้สนใจ เนื่องจากเข้าใจว่ามันเป็นลินุกซ์ และลินุกซ์ก็คงเหมือนๆ กันหมด พอขึ้นปี 2 ห้องแล็บคอมที่ภาควิชาก็ใช้ Debian เป็น Desktop อีก ตอนนั้นรู้สึกว่าสับสนการใช้งานของมันเป็นอย่างมากออกอารมณ์ประมาณ culture shock เพราะว่าใช้เป็นแต่ Windows XP :D สรุปได้ว่าไม่รู้อะไรสักอย่างเกี่ยวกับ Debian เลย เลยทดลองตัวง่ายก่อนนั้นก็คือ Linux TLE ตอนนั้นได้รับคำแนะนำจากเพื่อนจักร (คงเป็น Samila มั่ง) ชอบมากเนื่องจากไม่ต้องตั้งค่าภาษาไทย (ยังทำอะไรไม่เป็นมาก) พอเริ่มขึ้นปีสามอาจารย์ที่ปรึกษาผมมีหัวข้อโปรเจคเล็กๆ ในรายวิชาโครงงานขนาดเล็กให้ทำคือ BrailleNote Simulation on Text Mode ก็อาสาอาจารย์ทำหัวข้อนี้ พร้อมกับได้เจอพี่ๆ ในแล็บและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่มีความรู้มาก เลยทำเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์จากไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ System V IPC โปรเซส อินเตอร์รัพ และ ncurses จนรู้เรื่องขึ้นมาระดับนึง (ต้องขอขอบคุณหนังสือในตำนาน เจาะประเด็นงานเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์ ของคุณ สันติ ศรีลาศักดิ์ และ คุณวรวุฒิ เที่ยงธรรม ไม่รู้หาซื้อได้อีกหรือเปล่า) รู้สึกว่าตอนนั้น หลังจบโครงงานเล็ก เกิดอาการสำลักดิสโทรเนื่องจากตั้งใจแล้วว่าจะย้ายออกจาก Linux TLE ไปใช้ลินุกซ์ตัวอื่นแต่ก็ไม่รู้จะใช้อะไรดีทั้ง RedHat Fedora Ubuntu SUSE แต่ละตัวก็มีคนเขียนเชียร์กันคนละแบบเลยไม่รู้จะใช้ตัวใหนดี และแล้วก็ย้ายไปใช้ Ubuntu ไม่แน่ใจว่าเป็น Hoary Hedgehog หรือเปล่า ไม่แน่ใจว่าทำไม ใครเป็นคนแนะนำ สงสัยตามกระแส แต่ก็นั้นแหละชอบในความใช้งานง่าย และ apt-get (มารู้ที่หลังว่ามาจาก Debian) อ๋ออีกอย่างนึ่งคือมีเพกเกจใหม่ๆ ให้ใช้งานเยอะมาก

ตั้งแต่นั้นมาก็ใช้ Ubuntu เป็น Desktop คู่ขนานกับ Windows XP มาโดยตลอดแล้วก็ค่อยๆ ลดความสำคัญของ Windows XP เหลือแต่ Ubuntu เพียงอย่างเดียว (Windows XP ก็ยังใช้อยู่นะ ไว้ทำงานเอกสาร :P) แต่ปัญหาหนึ่งเกิดกับผมบ่อยมากคือ Ubuntu จะออกรุ่นทุก 6 เดือน แต่พอเริ่มปล่อย RC ผมก็จะลงใหม่ทันทีซึ่งมันจะเป็นช่วงสอบปลายภาคของแต่ละภาคการศึกษาพอดี ซึ่งทำให้โปรเจคที่ทำไว้ต้องใช้ความพยายามมากว่าเดิมในการคอมไพล์ เนื่องจากอะไรๆ ก็ใหม่ไปหมด บางครั้งโค้ดที่เขียนไว้คอมไพล์ผ่านในเวอร์ชันนึงแต่คอมไพล์ไม่ผ่านในอีกเวอร์ชันนึงก็มี (พึ่งมารู้ตอนหลังว่าเป็นเพราะเวอร์ชันของ gcc) อีกทั้งเพกเกจบางอย่างที่เราจำเป็นต้องใช้ แต่นักพัฒนาในชุมชน Ubuntu เห็นควรให้ตัดออก เขาก็จะตัดออกทันที ทำให้ต้องคอมไพล์เอง ลงเอง แก้บักเอง อยู่หลายครั้ง ในความคิดตอนนั้นคือนี้มันชักไม่ง่ายแล้วนะ เลยแอบศึกษา Debian ซึ่งเป็นตัวแรกที่รู้จักอีกครั้ง


คำถามที่ค้างคาใจมากที่สุดในตอนนั้นคือทำไม Debian ซึ่งได้ชื่อว่ามีซอฟต์แวร์ที่ใหม่ที่สุดและมากที่สุดในคลังเก็บแต่ตอนที่ลงใช้งานกลับมีแต่โปรแกรมเก่าๆ ตามหลังเวอร์ชันที่นักพัฒนาจากต้นน้ำออกรุ่นอยู่ 2-3 รุ่นสำหรับรุ่นที่ได้ชื่อว่า Release หรือ etch ในขณะนั้น คำตอบเหล่านั้นได้รับการไขความกระจ่างเมื่อมี DebianClub.org ผมถามคำถามที่ผมไม่รู้ลงไปในกระทู้หลายกระทู้ แต่ที่ไขความกระจ่างเรื่องของคลังเก็บเพกเกจมีชื่อว่า รื่องของ repository ก็ได้คำตอบมาประมาณนึงพอลองหากระทู้เก่าๆ ก็เจอกระทู้ของ DrRider เรื่อง ส่วนใหญ่ถ้าใช้ Debian เป็น Desktop แล้วใช้ repo ไหนกันครับ คราวนี้ก็กระจ่างแจ้งทุกอย่างต้องขอขอบคุณพี่เทพกับพี่ๆ ในเว็บที่คุยกันผ่านทาง Forum ผมซึ่งเป็นผู้มาทีหลังเลยได้ความรู้ตามไปด้วย จากนั้นจึงเปลี่ยนรุ่นที่ตัวเองทดลองใช้เป็น sid หรือ unstable โดยพลัน (คิดแล้วว่าสามารถรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก Ubuntu ก็ไม่ต่างกัน) ใช้แล้วชอบติดใจ เลยเปลี่ยนมาใช้ Debian ตั้งแต่วันนั้นซึ่งก็ใช้เวลาย้ายงานและข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน Ubuntu มาเป็น Debian ก็คงจะเสร็จสิ้นวันที่ 8 กรกฎาคม 2009 ตามที่ได้บันทึกไว้ Jaunty Jackalope เป็น Ubuntu เวอร์ชันสุดท้ายก่อนเปลี่ยนมาเป็น Debian


ผ่านมาแล้ว 3 ปีผมใช้ Debian ทดลองทำอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งก็ทำงานได้ดีตามที่ผมต้องการ รวมถึงเป็น Desktop หลักของผม เวลาติดตั้งก็มีความสุขไม่ต้องรอนานเหมือนเมื่อก่อนเนื่องจากใช้ Repository ที่ตั้งอยู่ในภาควิชาทำให้ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วไม้ต้องรอเป็นวันๆ เหมือนเมื่อก่อน มาถึงวันนี้ผมเริ่มที่จะรายงานความผิดพลาดของเพกเกจกลับไปยังนักพัฒนาบ้างตามแต่โอกาสจะอำนวยถือว่าเป็นการเริ่มต้นตอบแทน Debian บ้างในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากมัน Debian Sid อาจไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบคอนฟิกอะไรยุ่งยากหรือต้องแก้ไขอะไรบางอย่างเองแต่สำหรับผมแล้ว มันสนุกดี ได้ใช้ของใหม่ที่ใหม่จริงๆ ไม่ต้องรอออกรุ่น และไม่ต้องลงใหม่ทุก 6 เดือนถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งทีเดียว  \o/

ความคิดเห็น

  1. แหมมมม มีเหน็บกันด้วยนะ
    การลง OS ใหม่ทุกหกเดือนมันก็เป็นความสุขอย่างนึงนา :P

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)