ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประชุมเชียร์ เรื่องเก่าเล่าใหม่

ปีนี้เป็นปีหนึ่งที่มีเรื่องผ่านหูเกี่ยวกับการประชุมเชียร์มากที่สุดปีหนึ่ง หลายๆ ครั้งเราอาจจะได้ยินเรื่องการรับน้องนอกสถานที่ แต่คราวนี้เกิดขึ้นกับการประชุมเชียร์ซึ่งถือได้ว่ามีการอนุญาตให้สามารถทำกิจกรรมนี้ได้อย่างถูกต้องภายในมหาวิทยาลัยนั้นเอง การประชุมเชียร์นั้นแท้จริงคืออะไรเป็นคำถามที่ผมพยายามหาคำตอบเหมือนกัน เชียร์ หากเขียนเป็นภาษาอังกฤษก็น่าจะหมายถึง cheer ซึ่งหมายโดยรวมคือการให้กำลังใจหรือแสดงความยินดี แต่ผู้จัดกิจกรรมประชุมเชียร์ผมไม่ทราบว่าเขาเหล่านั้นได้เข้าใจถึงคำเหล่านี้บ้างหรือเปล่า หลายๆ คนที่อ่านบทความของผมอาจจะตั้งแง่ว่าผมคงไม่เคยผ่านการประชุมเชียร์หรือเข้าร่วมไม่ครบ แต่ผมอยากให้เข้าใจว่าผมเข้าครบ 7 เชียร์ครับ ไม่เคยขาดแม้แต่ครั้งเดียวและได้รับของที่ระลึกเป็นจี้เกียร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย บทความนี้ผมไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อทำลายระบบประชุมเชียร์แต่กำลังเสนอความเห็นว่า ในปัจจุบันมันยังคงความหมายหรือว่าห่างไกลกับความหมายดั้งเดิม

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการประชุมเชียร์นั้นเป็นกลไกลหนึ่งของระบบโซตัส (SOTUS) ลองอ่านความหมายที่นี้ประกอบนะครับ วิพากษ์ว้าก:บทวิพากษ์แห่งการรับน้องประชุมเชียร์โซตัส(SOTUS)(ประชุมเชียร์ คืออะไร?) แน่นอนที่ว่ากลไกลของโซตัสสามารถใช้ได้กับการเรียนในลักษณะโรงเรียนทหาร เนื่องจากต้องการฝึกให้นักเรียนมีความพร้อมในการปฏิบัติตามคำสั่ง ความพร้อมเพรียง การเคารพผู้บังคับบัญชา ระบบเหล่านี้จึงทรงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับโรงเรียนทหารนั้นเอง และผมก็เห็นด้วยที่จะเป็นเช่นนั้น แต่เราเอาระบบนี้มาใช้กับมหาวิทยาลัยละมันจะเป็นอย่างไร การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั้นสำหรับผมแล้วคือการเน้นความเป็นอิสระในกระบวนการคิดเพื่อจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับโลกใบนี้ หล่อหลอมให้นักศึกษามีความพร้อมเพียงพอที่จะประกอบสัมมาอาชีพเพื่อเลี้ยงตนและดำรงตนเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ ด้วยความเข้าใจของผมการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยจึงแตกต่างจากระบบการเรียนในโรงเรียนทหารอย่างมาก เนื่องจากเราไม่ต้องการคำสั่งในการดำเนินชีวิต แต่เราต้องการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมต่างหาก (ถ้าหากใครเรียนวิศวะคงได้ยินคำว่า sense of engineer ซึ่งอาจารย์หลายๆ ท่านคงเปรยให้ได้ยินบ่อยๆ) การที่ระบบมหาวิทยาลัยสอนให้เราคิดเป็นจึงส่งผลให้ระบบโซตัสถูกต่อต้านมากขึ้น เพื่อนๆ ของผมไม่เข้าร่วมประชุมเชียร์เลยหลังจากเชียร์แรกก็หลายคน เหตุผลคือเขาไม่ต้องการเรียน ร.ด. :D สำหรับระบบโซตัสแล้วมันมากกว่าการประชุมเชียร์ที่ต้องมีว้ากเกอร์มากล่าวผรุสวาทแต่หนึ่งในนั้นคือการแสดงให้เป็นตัวอย่างด้วย อีกทั้งในปัจจุบันเราเน้นการใช้ชีวิตในระบบประชาธิปไตย ระบบโซตัสจึงควรปรับให้สอดคล้องกันไปด้วย เรามาดูในแต่ละความหมายของโซตัสกัน
  • ความอาวุโส การจะให้รุ่นน้องเห็นถึงความอาวุโส รุ่นพี่เองต้องแสดงให้เห็นด้วยว่าควรค่าแก่ความเคารพ อยากถามจริงๆ เถอะว่าก่อนมาเป็นว้ากเกอร์และหลังจากเป็นว้ากเกอร์คุณทำตัวเหมาะสมแล้วแค่ใหน :D ความอาวุโสไม่ได้มีมาเพราะเข้าเรียนก่อนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องควรค่าด้วย อาวุโสจึงจะแสดงอานุภาพได้สมบูรณ์
  • การเชื่อฟังคำสั้ง ดังที่กล่าวไปแล้วว่าสอนให้รู้จักคิด ดั่งนั้นในบริบทนี้ควรหมายถึงการกล่าวตักเตือนเมื่อไม่เหมาะสมจึงจะถูกต้อง เมื่อมีคนมาตักเตือนน้องๆ ควรจะรับฟังและปฏิบัติตาม
  • การปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น ควรเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้เกิดความสามามัคคี ไม่ใช้พิสูจน์ความกล้าบ้าบิ่นจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และยังต้องถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมอันดีอีกด้วย เพราะว่าประเพณีบางอย่างเหมาะในยุคสมัยนั้นๆ แต่อาจจะไม่เหมาะกับในยุคสมัยปัจจุบันก็ได้
  • ความเป็นหนึ่งเดียวนี่ผมคิดว่าเราสร้างได้ยาก และไม่สามารถสร้างได้หลังจากจบกิจกรรมประชุมเชียร์ไปแล้ว เห็นได้จากว่าเมื่อประชุมเชียร์น้องๆ ทุกคนจะรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว แต่เมื่อจบไปไม่ถึงเดือนความเป็นหนึ่งเดียวจะสลายไปราวกับเรื่องเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นมาก่อน คำถามคือเราจะต้องรักษาอย่างไรให้เหนียวแน่นมากกว่าจะสร้างอย่างไรมากกว่า ลองคิดดูว่า ในตอนปี 1 ช่วงแรกของชีวิตมหาวิทยาลัย หลังผ่านกิจกรรมประชุมเชียร์เวลานัดประชุมอะไรจะมาโดยพร้อมเพรียงกัน แต่พอปลายปี จะมีคำว่าไม่ว่าง ไม่เอาเหนื่อย อะไรอย่างนี้ให้เราได้ยินกันประปราย โดยเฉพาะคณะที่มีขนาดใหญ่มากๆ มันจะไม่มีสิ่งนี้เลยแต่จะแตกออกเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ เสียมากกว่า การสร้างสามัคคีในหมูคณะนั้นจะต้องเกิดจากหลักการปฏิบัติให้เห็นมากกว่าการสั่งสอน ขนาดพระพุทธเจ้ายังตรัสธรรมะอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในหมู่คณะคือสาราณียธรรม 6 ประการ ยังเป็นการปฏิบัติที่เข้าถึงหมู่คณะโดยตรง โดยหนึ่งในนั้นคือเมตตาวจีกรรมไม่ใช่การกล่าวคำดูถูกหยาบคายดังที่ว้ากเกอร์ใช้กัน
  • สปิริต คำนี้อาจจะถูกใช้จนไขว้เขว โดยมากมักใช้เรียกความกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่มักเป็นความบ้าบิ่นเสียมากกว่า ในคำๆ นี้ผมขอใช้คำว่า "จิตอาสา" น่าจะถูกต้องกว่านะครับ น้องใหม่อาจจะไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ใน 1-2 เดือนแรกของการประชุมเชียร์แต่อาจจะต้องใช้เวลาเป็นปีโดยการที่รุ่นพี่แสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง อาจจะใช้เวลามากแต่ได้ผลชงักงัน ประเด็นคือรุ่นพี่จำนวนกี่คนที่แสดงสิ่งเหล่านี้ออกมาถ้าหากไม่มีทรานสคริปกิจกรรม :P ผมไม่ได้บอกว่าไม่มีนะแต่คำถามคือมีกี่คนในเมื่อคนเหล่านี้มีน้อยผลย่อมเกิดแก่รุ่นน้องน้อย ถ้าทั้งคณะทำได้ผมคิดว่าจะมีรุ่นน้องที่ใหนไม่ทำตาม (จริงใหม) เรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง ผมไม่เคยเห็นนักศึกษาที่เข้าว้ากมาช่วยผมล้างบ่อปลาเลย ทั้งๆ ที่บ่อปลานั้นเป็นสมบัติส่วนรวม มีคนมาดูและชื่นชม เมื่อมันสกปรกมีแต่คนมาบอกว่าบ่อสกปรกเมื่อไหร่จะล้าง :(
เขียนมายาวชักจะเลอะเทอะ โดยสรุปแล้วการประชุมเชียร์นั้นผมยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าจุดประสงค์คืออะไรกันแน่ เพราะหากมีคนพูดว่า เพื่อความสามัคคี ก็จะตอบกลับไปว่ามันสร้างไม่ได้ด้วยคำพูด เพื่อรู้จักเคารพรุ่นพี่และครูอาจารย์ แล้วว้ากบางคนยังเดินชนผมแล้วไม่เห็นจะขอโทษเลย เพื่อความเป็นหนึ่งเดียว ทำไมคณะเดียวกันคนที่เข้าประชุมเชียร์ทุกคนยังต้อยกันแย่งผู้หญิงอะ ผู้จัดกิจกรรมทุกคนต้องอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้ได้ และต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อความเหมาะสมด้วยการประชุมเชียร์จึงจะสัมฤทธิ์ผลและถูกต้องตามความหมาย ทุกๆ คนอย่าลืมว่าน้องปี 1 ทุกคนเหนื่อยยากกว่าจะสอบเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยได้เราควรจะแสดงความยินดีและแนะนำการดำเนินชีวิตอย่างปัญญาชนมากกว่านี้หรือไม่ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนยังต้องช่วยกันตอบต่อไป

ปล. ผมไม่เห็นด้วยที่จะไล่นักศึกษาที่ไม่เข้าร่วมประชุมเชียร์ออกจากมหาวิทยาลัยด้วยคำพูดของประธานเชียร์แค่คนเดียว ถ้าหากเขาประพฤติตนไม่เหมาะสมตามระเบียบนักศึกษาก็ว่าไปอย่าง นักศึกษาหลายคนทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยอย่างมากมาย :D ขับเขาไปเขาก็ไปสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยอื่นดิ \o/ ควรให้เขาเลือกมากกว่าจึงจะเป็นสังคมประชาธิปไตยนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)