เดือนสิงหาคมของทุกปี หลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาารสอบกลางภาคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะจัดงาน ม.อ. วิชาการขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีนี้จัในวันที่ 17 - 20 สิงหาคม 2553 แต่ในส่วนคณะหรือหน่วยงานต่างจะจัดงานในช่วงเวลาที่แตกต่ากันไป เช่นคณะวิศวกรรมศาสตร์จะจัดแค่วันที่ 19 เท่านั้น สำหรับงาน ม.อ ปีนี้ใช้หัวข้อว่า "ม.อ. วิชาการ 2553 บ่มเพาะคนดี ชี้นำสังคม สั่งสมปัญญา พัฒนางานวิจัย" มีการจัดงานแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนกลางที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ และในส่วนคณะต่างๆ สามารถดูได้ที่ ปฎิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย สำหรับวันนี้ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมงาน ม.อ.วิชาการในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์มา จึอยากเอาภาพบรรยากาสบางส่วนมาเผยแพร่ให้ชม
คณะวิศวกรรมศาสตร์

สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นใช้ชื่องานว่า "เทคโนโลยีถิ่นใต้ยุคหน้า" ก็ได้นำผลงานเด่นของแต่ละภาควิชามาแสดงให้ผู้สนใจได้ชมกัน ซึ่งการผลงานส่วนใหญ่เป็นผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ผู้ที่จะรับชมน่าจะอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา หรืออดมศึกษา เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจค่อนข้างสูง และโดยมาเป็นอุปกรณ์หรือแนวคิดซึ่งค่อนข้างยากในการทำความเข้าใจ สำหรับตัวงานนั้น ผมเห็นว่ายังตีความหัวข้อได้ไม่ตรงเป้านัก มันเป็นเหมือนงานแสดงผลงานมากว่าจะแสดงให้เห็นว่าภาคใต้ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มาชมที่ผมคิดว่าเจ๋งกันดีกว่าครับ เริ่มต้นที่ภาควิชาต้นสังกัดผมก่อนแล้วกัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นใช้ชื่องานว่า "เทคโนโลยีถิ่นใต้ยุคหน้า" ก็ได้นำผลงานเด่นของแต่ละภาควิชามาแสดงให้ผู้สนใจได้ชมกัน ซึ่งการผลงานส่วนใหญ่เป็นผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ผู้ที่จะรับชมน่าจะอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา หรืออดมศึกษา เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจค่อนข้างสูง และโดยมาเป็นอุปกรณ์หรือแนวคิดซึ่งค่อนข้างยากในการทำความเข้าใจ สำหรับตัวงานนั้น ผมเห็นว่ายังตีความหัวข้อได้ไม่ตรงเป้านัก มันเป็นเหมือนงานแสดงผลงานมากว่าจะแสดงให้เห็นว่าภาคใต้ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มาชมที่ผมคิดว่าเจ๋งกันดีกว่าครับ เริ่มต้นที่ภาควิชาต้นสังกัดผมก่อนแล้วกัน
สำหรับภาพแรกเป็นการตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปรกติของมนุษย์ ซึ่งใช้สำหรับตรวจับการล้มหรือพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทั้งหลายนั้นเอง อันนี้เป็นของเพื่อนปิง แต่เจ้าตัวแอบหนีเที่ยวไปใหนก็ไม่รู้ปล่อยให้น้อปี 1 มานั่งเฝ้า :( อันที่สองเป็นการตรวจจับ และรู้จำใบหน้าของมนุษย์อันนี้เป็นของ อาจารย์อนันท์ ผลการตรวจจับถือว่าดีทีเดียวแต่จะมีปัญหาหากในหนึ่งภาพมีหลายหน้ามากๆ
อีกอันที่น่าสนใจคือปะการังเทียม แต่ที่ผมสนใจจริงๆ คือ การเอาต้นโกงกางมาปลูกในปะการังเทียม เหตุที่สนใจเนื่องจากเมื่อเราทำลายป่าชายเลนไปแล้ว เราจะปลูกต้นโกงกางกลับได้ยาก เนื่องจากคลื่นลมจะทำให้ต้นโกงกางที่ปลูกถูกถอนออก แต่ถ้าเป็นไปตามรูปที่เขาวางแผนได้จริง ปะการังเทียมจะช่วยผยุงให้ต้นโกงกางสามารถเจริญเติบโตได้ภายในปะการังเทียมแล้วก็งอกออกมาถือว่าเป็นแนวคิดที่บรรเจิดมาก
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์จะแยกออกเป็นหลักๆ สองส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ให้ความรู้ ขอชื่นชมเลยว่าส่วนนี้สามารถให้ความรู้เด็กๆ ได้มากจริง เป็นวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่น้องๆ ประถมสามารถเข้าใจง่าย เห็นของจริงที่ไม่ได้อยู่ในตำราเรียน มีการเอาตัวอย่างพืช หรือสัตว์เซลเดียวมาให้เด็กๆ ได้ดูกันผ่านกล้องจุลทัศน์หากโรงเรียใหนไม่มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์พวกนี้ ก็สามารถพาเด็กๆ มาดูของจริงกันได้ แต่ที่ผมชอบมากที่สุดคือ ปลาหมึกแคละ ตัวเล็กมากแถวบ้านผมมักพบเจออยู่ปนกับปลาไส้ตันตัวเล็กๆ คิดว่าคงเป็นลูกปลาหมึก แต่ที่ใหนได้พึ่งมาพบความจริงวันนี้เองว่าเป็นปลาหมึกแคละเสียน้ จากการสอบถามปรากฎว่า มันโตสูงสุดก็ดังที่เห็นในรูปแถวที่สองรูปที่หนึ่ง ไม่โตไปกว่านี่แล้ว
ในส่วนถัดมาเป็นการประกวดโครงงานนักเรียน และประกวดนวัตกรรมระดับนักศึกษา ผมได้ไปลองเดินๆ ดูมามีเรื่องที่น่าสนใจด้วยกันหลายเรื่อง แต่ที่สอบถามดูถ้าเป็นแนวการศึกษาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ส่วนใหญ่เป็นเด็ก สอวน. เป็นส่วนใหญ่ แต่โครงงานนักเรียนผมสนใจสิ่งประดิษฐ์ที่เขาทำมาก เนื่องจากมันใช้ได้จริงเช่น เครื่องไสมะละกอปรับความเร็วรอบได้สองระดับ(อันนี้เหมาะแก่การทำส้มตำมาก ผมถามน้องเองเขาไปเล่นๆ ว่าความเร็วใหนเอาไปทำส้มตำอร่อยกว่ากัน) เอาปริ้นเตอร์มาทำเครื่องสไลท์เนื้อเหยื่อ และที่ผมอยากนำเสนอเลยคือเครื่องปอกเมล็ดเหรียง อันนี้ภาคอื่นอาจจะไม่รู้จักแต่สำหรับชาวใต้แล้วรู้จักกันดีมันคือหนึ่งในสามผักที่มีกลิ่นของภาคใต้นั้นเอง วันนี้ผมเห็นโรงเรียนคลองท่อมราฎรังสรรค์ส่งเครื่องฉีดพ่นยาหญ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาประกวดด้วย ดีใจจังเห็นโรงเรียนจากกระบี่มาแข่งขันกับเขาด้วย สำหรับนวัตกรรมนั้นผมไม่ค่อยสนใจอะไรมากมานักแต่ที่แปลกตาคือการนำเปลือกถั่วพิตาชิโอมาทำดอกชุมเห็ดเทศ ซึ่งมันเหมือนมากคิดได้ไงเนี่ย :D ส่วนรูปสุดท้ายเป็นรูปเครื่องแยกไฮโดรเจน ผมพยายามสอบถามเรื่องความคุ่มค่าในการแยกและนำมาใช้จริง แต่สงสัยมันยากไปน้องเขาพยายามตอบเพียงแต่ว่ามันแยกได้ และมันแยกได้อย่างไร
ยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจที่ผมยังไม่ได้นำเสนอ และงานส่วนใหญ่จะจัดกันที่ศูนย์ประชุมซึ่งผมไม่พยายามจะไปดูเพราะคนเยอะมากเลยนำมาให้ชนกันเพียงแค่นี้ นอกจากนี้ยังมีคณะอื่นๆ ที่จัดงานต่าง ๆ สามารถมาเดินดูเดินชมกันได้ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น