ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

World Usability Day 2009: Design for a Sustainable World

จากการไปร่วมฟังเสวนาเรื่อง Design for a Sustainable World เนื่องในวัน World Usability Day ประจำปี 2009 โดยมีวิทยากรคือ
  • ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ บรรยายหัวข้อ Design for social webs
  • อ.ณรินทร์ เจริญทรัพยานนท์ บรรยายหัวข้อ Usability in the real world
  • อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ บรรยายหัวข้อ หนังสือ Design for everyday things
ดำเนินรายการเสวนาโดย พี่มะปราง พอจะได้อะไรมาบ้างถึงแม้ว่าบางอย่างจะรู้แล้วก็ตาม และคาดหวังว่าจะมี Case study มากกว่านี้ แต่เนื่องด้วยเวลา และความหลากหลายของผู้ฟังซึ่งเกณฑ์มาจากวิศวะ วจก. วิทยาศาสตร์ และ IT มั้ง(จากการฟังมา) จึงทำให้เนื้อหาที่วิทยากรพูดมาวันนี้เป็นแบบ Introduction ก็ว่าได้ จากการฟัง อ.จันทวรรณ มาน่าจะเป็นคำจำกัดความของ Usability ได้ดีที่สุด คือ ใช้งานง่าย เรียนรู้ได้ง่าย ผู้ใช้พึงพอใจ (เดี่ยวขอไปดูที่จดไว้อีกที) ผมว่าสามนี้ถือว่าเป็นแม่แบบได้ดีทีเดียว โดยที่ทั้งสามคนได้อธิบายว่ายังไม่มีคำจำกัดความของ Usability ที่ตรงตัว จึงเป็นสิ่งที่รู้และเข้าใจแต่ยากจะอธิบายให้รู้ - -!!
นอกจากนี้ อ. ณรินทร์ ได้อธิบายว่ากระบวนการทำ Usability Testing จะเกิดขึ้นระหว่าง Analysis กับ Design ซึ่งผมเห็นด้วยตรงจุดนี้อยู่มาก เนื่องจากเว็บในปัจุบันจะนิยมทำให้เสร็จก่อนแล้วค่อยปล่อยออกมาทดลองใช้งาน บางเว็บจึงไม่ตอบสนองการใช้งานขอผู้ใช้งานมากนักเนื่องจากเจ้าของเว็บส่วนใหญ่มักกลัวคนอื่นจะขโมยไอเดียนั้นเอง :( (ดูตัวอย่างง่ายๆ ผมว่าเว็บซื้อของ online หรือเว็บ internet banking ส่วนใหญ่ใช้งานแล้วงงอยู่มาก เนื่องจากผู้พัฒนาระบบส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ส่วนผู้ใช้ก็ไม่ได้ทำ) และท่านได้บอกว่าสิ่งที่สำคัญกว่าการทำ Usability คือการทำให้หัวหน้าเข้าใจว่าทำไม่ต้องออกแบบมาลักษณะนี้ :( ต้องชักจูงแล้วพยายามทำให้คล้อยตามให้ได้ เป็น Soft skill ที่จำเป็น (เป็นเรื่องยากจริงๆ แต่จากการศึกษามามันจำเป็นจริงๆ นะ)
ส่วนพี่มาร์ค(วันนี้ได้เจอ MK ตัวเป็นๆ)ก็มาบรรยายว่ามีวิธีคิดและออกแบบการใช้งาน Blognone อย่างไร จึงประสบผลสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ (แต่ไม่ได้บอกนะครับว่ามีวิธี Block บัญชีผู้ใช้ยังไง เอาอะไรตัดสิน :-8 555 แหย่เล่นอย่าโกรธนะครับ) และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายที่เว็บเราสนใจและออกแบบเว็บมาเพื่อคนเหล่านั้น ไม่ใช่ออกแบบให้สวยแต่ใช้การไม่ได้ (อันนี้จริงฮะ) และให้แนวคิดอีกอันนึงที่ตรงข้ามกับปัจจุบันคือเวลาในการใช้งานเว็บสั้นที่สุด ซึ่งจะตรงข้ามกับการออกแบบเว็บในปัจุบันที่ต้องการให้คนเข้ามาอ่านเว็บให้นานที่สุดเพื่อจะเอาไปขายโฆษณา แต่พี่แกอธิบายว่าคนเข้ามาใช้เวลาน้อยที่สุดแสดงว่าเขาได้สิ่งที่ต้องการเร็วที่สุดนั้นเอง แนวคิดนี้น่าจะดีสำหรับเว็บจำพวก bookmark หรือการออกแบบหน้าค้นหาหรือหน้าที่รวมคอนเท็น อีกอย่างหนึ่งหน้าแรกควรที่จะนำเสนอผู้ใช้งานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดเนื่องจาก อะไรก็ตามที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดก็น่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้มาใหม่เช่นกัน อันนี้ผมเห็นด้วยและพึ่งฉุกคิดได้ว่าควรเพิ่มส่วนนี้ลงใน Ofebia ด้วยเช่นกัน
ผมคาดหวังว่าจะมีการนำเสนอรูปแบบการออกแบบที่ถูกต้องหรือสิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณา หรือกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับเว็บแต่เวลาคงไม่อำนวยจึงไม่ได้พูดถึง แต่การเข้าฟังวันนี้ก็ได้อะไรมากมายเช่นกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล...

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)...