ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสร้างความสามัคคีในรุ่น และ การร่วมกิจกรรมรับน้อง

เรื่องนี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในภาควิชา แต่ผมไม่ได้ไปร่วมกับเขานะเพราะแก่แล้วพอดีมันเป็นประเด็นใน Pumbaa เลยเอามา Blog ไว้สักนิด เรื่องของเรื่องเกิดจาก (ขอเล่าเป็นนิทาน) มีบุรุษผู้หนึ่งไปโพสเว็บบอร์ดใน Pumbaa ประมาณว่า ไม่ซิขอยกมาเลยดีกว่า
เมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม
เมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม จะรวมกันเป็นหนึ่ง ทั้งพี่และน้อง
เมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม จะช่วยเหลือกัน
เมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม จะไม่เห็นแก่ตัว
เมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม จะไม่โกหกสังคม
เมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม จะทำเพื่อสังคมจริงๆ สักที
แล้วเมื่อไรเหรอครับ ที่เด็กวิดวะคอม จะเป็น วิศวกรรมศาสตร์ อย่างเต็มตัว
โดยบุรุษผู้นี้ใช้นามว่า "ไม่บอกก็รู้ว่าเป็นใคร" อือ ช่างเป็นนามที่ไม่มีใครรู้เลยว่าเป็นใคร จากการพิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นน้องปี 2 หรือ ปี 3 อาจจะน้อยใจในบางเรื่องจนต้องออกมาบ่นให้ฟังดังๆๆ แต่ใช้ว่าเรื่องแบบนี้จะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับ Pumbaa นะครับเพราะหลายครั้งก็เคยมีกระทู้ทำนองนี้เกิดขึ้นมาบ่อยๆ ผมเห็นด้วยที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรื่องเหล่า เพราะมันเป็นการกระตุ้นให้เรารู้ว่าเรากำลังหลงทางกับเรื่องเหล่านี้อยู่หรือเปล่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ บุรุษผู้นี้อาจจะตั้งใจดีที่จะบอกความต้องการให้หลายๆ คนใน CoE ได้รับรู้ว่าเรื่องที่ทำอยู่ไม่ถูกต้องเช่น กิจจกรรม CoE เพื่อสังคม ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมใหญ่ของภาควิชาที่จัดโดยนักศึกษาก็ว่าได้ โดยปรกติแล้วโครงการนี้เราจะจัดไปบำเพ็ญประโยชน์นอกสถานที่ร่วมถึงกิจกรรมรับน้องด้วย ซึ่งเป็นประเภณีรับน้องภาค(เฉพาะ CoE) โดยจะมีกฏเหล็กอยู่ไม่กี่ข้อคือ รุ่นน้องซึ่งก็คือปี 2 ห้ามร่ำสุรา(รุ่นพี่ไม่เกี่ยวนะครับ) และไปบำเพ็ญประโยชน์นอกสถานที่ ที่เหลือแล้วแต่จะจัดกิจกรรม มองดีๆ มันเป็นการรวมกิจกรรมสองกิจกรรมเข้าไว้ด้วยกันซึ่งประเภณีนี้เรายึดกันมาหลายรุ่นก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แถมเป็นกิจกรรมที่น่าชื่นชมเนื่องจากไม่ได้รับน้องด้วยสุราครับ อย่างมองคำว่ารับน้องต้องเอาน้องไปทรมาน บังคับน้องร่ำสุรานะครับ เพราะประเภณีแต่ละภาคต่างกัน
ท่าน "ไม่บอกก็รู้ว่าเป็นใคร" คงจะอิงกับคำว่าเพื่อสังคมจัด เลยคิดว่ากิจกรรมนี้เราต้องไปทำเพื่อสังคมเท่านั้นนะ หรืออาจจะจริงจังกับชีวิตมากไปหน่อยจนลืมมองผลที่ได้จากกิจกรรมซึ่ง CoE เพื่อสังคม สามารถตอบโจทย์ จะรวมกันเป็นหนึ่ง ทั้งพี่และน้อง, จะช่วยเหลือกัน ได้ ลองนึกดูว่าหากเราเรียนที่คณะๆ นึงมีเด็กอยู่รวมกันเป็นร้อย เราจะรู้จักกันทั้งหมดได้อย่างไร คำตอบง่ายๆ คือเราต้องร่วมกันจัดกิจกรรม เมื่อมีกิจกรรมการทำความรู้จักย่อมเกิด เมื่อรู้จักกัน พี่กะน้องจะไม่มีช่องว่าง เมื่อไม่มีช่องว่าง การช่วยเหลือกันจะตามมาเป็นลำดับ แต่ทำไมหลายๆ คนกลับมองกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการหาทางออกไปเที่ยว หรือเป็นกิจกรรมที่ไม่มีแก่นสาระ กลับมอกประโยชน์แบบผิวเผินของมันมากกว่าสาระระหว่างกิจกรรม ซึ่งลักษณะการคิดแบบนี้ส่วนใหญ่จะมีในผู้คงแก่เรียนทั้งหลายหรือพวกที่เขาสังคมยากมองกิจกรรมเหล่านี้ว่าไร้ประโยชน์
ส่วนที่เหลือของของข้อความที่เอามาโพสด้านบนคือ จะไม่เห็นแก่ตัว อาการนี้เป็นอาการเฉพาะบุคคลจะบอกว่าไม่เห็นแก่ตัวนั้นเป็นไปไม่ได้ ขนาดพระพุทธเจ้ายังตรัสเลยว่า "ท่านทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาท" เพราะคำว่าเห็นแก่ตัวนั้นเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดแต่ละสังคมนิยามคำนี้ไว้ไม่เท่ากัน เราควรใช้คำว่า "เราเสียสละได้มากแค่ใหนมากกว่า" เพราะหากเราทุกคนเสียสละกันคนละนิดมันจะเติมเต็มให้สังคมเราน่าอยู่อย่างพอดิบพอดี แต่ปัญหาคือว่า เราหาแต่คนไม่เห็นแก่ตัวแต่เราไม่เคยนึกเลยว่าเราละเสียสละเพื่อนคนอื่นแล้วหรือยัง มันเป็นมุมมองแนวคิดที่ต่างกันออกไปแต่น่าจะง่ายกว่ามาตั้งคำถามว่า จะไม่เห็นแก่ตัว ส่วนเรื่อง จะไม่โกหกสังคม จะทำเพื่อสังคมจริงๆ สักที น่าจะมาจาก CoE เพื่อสังคม คำว่าเพื่อสังคมมักจะเป็นคำกว่าวอ้างที่ดูดีเสมอ แต่ผมกลับมองว่ากิจกรรม CoE เพื่อสังคมนั้นแม้ว่าจะเป็นการเก็บขยะเพียงไม่กี่ชั่วโมง มันก็ทำให้หาดทรายสะอาดขึ้นไม่ใช่เหรอ หรือตั้งไปกู้ระเบิดที่สามจังหวัดชายแดนใต้จึงจะได้ชื่อว่าเพื่อสังคม อันนี้ผู้ตั้งกระทู้คงลืมไปว่าการจัดกิจกรรมให้คนหมู่มากทำนั้นเป็นเรื่องยากเพราะจริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต่อให้เป้นการทำเพื่อสังคมก็ตามการเก็บขยะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ทำให้สังคมดูดีขึ้นมาแต่มันเป็นการฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคมของ CoE ฝึกให้รู้จักกันถึงแม้ว่ามันจะเล็กน้อยแต่ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หากดูเนื้อหาสาระแล้วคำว่า CoE เพื่อสังคมถึงแม้ว่ากิจกรรมจะไม่ได้เพื่อสังคมนอกมหาลัยมากมายแต่มันก็เป็นการสอนให้เสียสละเพื่อสังคมบ้าง หรือว่าท่านผู้ตั้งกระทู้จะไปเที่ยวทะเลแล้วเมื่อเห็นขยะแล้วเก็บไปทิ้งถังตลอดได้เลยหรือ ถ้าเป็นจริงหาดสมิลาคงสวยกว่านี้แล้วจริงหรือเปล่า กิจกรรมนี้ถึงแม้จะไม่มีประโยชน์ต่อสังคมมากมาย แต่อย่าลืมว่าเรากลับได้สร้างสังคมแห่งการเสียสละขึ้นในกิจกรรมนี้ด้วยเช่นกัน
สุดท้าย วิศวกรรมศาสตร์ อย่างเต็มตัว ผู้ตั้งกระทู้ให้ความหมายว่าวิศวกร ซึ่งผมว่าคนไทยทำไมไม่เข้าใจภาษาไทยเลยฟะ วิศวกรรมศาสตร์ คือ ศาสตร์ ทีว่าด้วย วิศวกรรม คนมักเอาคำนี้มาหมายถึงคณะ ซึ่งเป็นการสร้างอัตตาจากความเป็นอนัตตา ทำให้เรายึดมั่นถือมั่น เดาว่าผู้ตั้งกระทู้คงเข้าประชุมเชียร์ตอนปีหนึ่งถึงขั้นสำเร็จศาสตร์ด้านนี้เลยทีเดียว ผมไม่อยากแปลความหมายของมัน แต่ผมเข้าใจนะ ว่าผู้เขียนต้องการอะไร แต่คำว่า วิศวกรรมศาสตร์ อย่างเต็มตัว นั้นมันไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมมต่างๆ ได้เลย ต่อให้แปลได้ว่าคือวิศวกรก็ตาม วิศวะ หากตีความตามพระวิศวกรรม แล้วนั้นคือผู้สร้างสรรค์ วิศวกร คือมือที่สร้างสรรค์ หรือมือที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ หรือจะแปลว่าผู้สร้างก็คงจะไม่ผิด ไม่ได้ตั้งแง่นะ แต่อย่าให้ภาษาไทยผิดนะ เพราะคนไทยมั่งไม่ตีความให้ถ่องแท้แต่ชอบความคลุมเคลือจึงเกิดเหตุการทางการเมืองในปัจจุบัน(ไปกันใหญ่แล้ว) หากหมายถึงความเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ละก็ขอบอกว่าแรกๆ ก็อุดมการณ์อย่างนี้แหละแต่ความคาดหวังมักทำลายผู้คาดหวังเสมอ ลองพิจารณาตัวเองก่อนว่าอะไรคือวิศวกรรมศาสตร์แล้วเราปฏิบัติได้หรือยัง
อธิบายหลายๆ อย่างมามากแล้วคงจะต้องจบเสียที การที่รุ่นพี่รุ่นน้องจะรู้จักกันมันต้องมีผู้เริ่มก่อนเสมอผมขอใช้ธรรมเนียมไทยนะครับ ผู้น้อยหมายถึงรุ่นน้องน่าจะเข้าไปทำความรู้จักรุ่นพี่ ผมเชื่อว่าคงไม่มีรุ่นพี่คนใหนเมินหน้าหนีหรอก จะให้รุ่นพี่ไปทำความรู้จักรุ่นน้องก็กระไรอยู่เช่นรุ่นพี่ผู้ชายไปทำความรู้จักกับรุ่นน้องผู้หญิงเขาจะหาว่าหม้อ ถ้าไปทำความรู้จักน้องผู้ชายเดี๋ยวจะหาว่าเป็นเกย์เสียอีก ถ้ารุ่นน้องเริ่มไม่ว่าผุ้หญิงหรือผู้ชายมักจะมีข้อครหาน้อยกว่าเสมอ(รุ่นพี่ที่ไม่หม้อและไม่เกย์มีเยอะครับ แต่สังคมมักมองเราอย่างนี้เสมอ) กิจกรรมที่จัดขึ้นควรตักตวงประโยชน์ที่ให้มากที่สุดหากไปทำกิจกรรมแต่ตัวแล้วไม่เอาใจไปจะรู้เหรอว่าเขาต้องการอะไร คนไทยมักคิดจะเป้นผู้นำเสมอ แต่ไม่เคยทำตัวเป็นผู้ตามที่ดีจะรู้อะเปล่าว่าที่เขาทำเขาต้องการอะไร(ถึงแม้ว่าผุ้จัดกิจกรรมจะไม่คิดอะไรไว้ก็ตาม ^^) อย่าคิดที่จะเห็นสังคมที่ไม่เห้นแก่ตัวถ้าผุ้ต้องการเห็นไม่เริ่มเสียสละก่อนถึงมันจะเป็นผลกระทบในวงกว้างไปเรื่อยๆ เริ่มจากตัวเราเองแล้วเป้นเพื่อนเรามันจะขยายไปเรื่อยๆ แล้วสังคมนั้นจะเกิดขึ้นเอง และกิจกรรมมันไม่เคยโกหกใคร หากเราทำกิจกรรมให้ดีตามชื่อกิจกรรม สุดท้ายนี้วิศวกรรมศาสตร์ ก็ยังคงเป็นวิศวกรรมศาสตร์เหมือนเดิม ไม่ต้องพยายามทำตัวให้เหมือนนะครับ เดี๋ยวจะหลงคำนี้กันไปใหญ่ หวังว่าจะได้อะไรไปกับ blog บ้าง ผู้ที่ตั้งกระทู้คงไม่มาอ่าน blog ผมหรอกแต่ผมอยากให้หลายๆ คนที่ผ่านมาหัดมองในมุมต่างบ้างเท่านั้นเอง

ปล. ไม่อยากตอบใน pumbaa เพราะมันยาวกลัวพี่ป้อมฉัด!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล...

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)...