ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Gotoknow: มาใช้ Octave กันเถิด

หลังจากตัดสินใจใช้ Open source ทั้งหมด โดยเปลี่ยน เครื่อง Desktop มาใช้ Debian โดยใช้ sid (debian unstable) และโน๊ตบุ๊คมาใช้ Ubuntu อย่างเต็มรูปแบบ สรุปว่าเครื่องของผมทุกเครื่องเป็นเครื่องสะอาดแล้วครับ ยกเว้น office เท่านั้น ที่ต้องลง VM แล้วลง Office อยู่ เนื่องจากอาาจารย์ที่ปรึกษาผมใช้ windows ครับ จากการทำวิจัยอยู่นั้นมีข้อมูลที่ได้จากการเก็บระยะทางกับ pixel มาหาความสัมพันธ์ เพื่อที่จะได้ใช้ในการประมาณระยะทางในงานวิจัยต่อไป แต่ตองชะงักนิดนึงเมื่อรู่ว่าอย่างนี้ก็ต้องทำ Curve fitting ซึ่งความรู้นี้ได้คืออาจารย์ที่สั่งสอนมาตอนปริญญาตรีไปเรียบร้อยแล้ว ก็เลยค้นไปค้นมา ปรากฏว่าเราสามารถใช้ polyfit ใน Matchlab ได้ แล้วจะทำไงดี เนื่องจากวินโดส์ก็ไม่ได้ใช้แล้วค้นไปค้นมาเจอ blog ประหยัดเงินซื้อ MATLAB ของคุณ bow_der_kleine มีโปรแกรมที่สามารถใช้งานแทน MATLAB ได้อยู่ 3 ตัวคือ Scilab, octave และ Python โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับเจ้าของ blog ตรงที่ว่า scilab นั้น GUI ขาดใจเหลือเกิน เนื่องจากจำได้ว่าตอนเรียน control ตอนปี 2 ใช้แล้วไม่ค่อยประทับใจสักเท่าไหร่ แต่เจ้าของ blog แนะนำ Python ซึ่งผมไม่มีความสามารถ อีกทั้งจะให้เรียนรู้ก็ต้องใช้เวลาบ้างเลยตัดสินใจใช้ octave แทน

ด้วย octave สามารถใช้ script ของ MATLAB ได้เกือบสมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังใช้ GNUPloat ที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับการสร้างกราฟในรูปแบบต่างๆ จึงตัดสินใจเลือกใช้ตัวนี้ จากการใช้งานอย่างคร่าวๆ เนื่องจากแค่ต้องการประมาณค่าข้อมูลด้วยสมการเท่านั้นเลยลองใช้ polyfit ที่เหมือนกับอยู่ใน MATLAB ดูปราฏว่าใช้ได้อย่างไรปัญหาเลยทีเดียวอีกทั้งวาดกาฟได้อย่างอย่างที่ ต้องการแต่ใช้เวลาหาข้อมูลนานอยูที่เดียว เนื่องจากไม่ได้ใช้โปรแกรมประเภทนี้นานมาแล้ว จากการดูข้อมูลจากเว็บไซร์ เราสามารถใช้ Octave แทน MATLAB ได้อย่างครบถ้วนทีเดียวสำหรับการใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ แล้ววิศวกรรมศาสตร์ ใหนๆก็มีของฟรีให้ใช้ ก็เลิกใช้ซอฟท์แวร์ที่ถูกต้องแทนนะครับ

หมายเหตุ Ubuntu กะ Debian ผมปรากฏว่า Debian ทำงานเร็วกว่าครับ แต่ใช้งานยังไม่สะดวกนักสำหรับ End user แต่ Ubuntu เฉียบกว่าหากมองเรื่องการใช้งานแต่ใช้งานสบายมากแม้จะ boot ช้าไปนิดนึงอาจจะเป้นเพราะโปรแกรมที่ลงไปไม่เท่ากันมั่ง

http://gotoknow.org/blog/sdayu/242627

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)