ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำไมราคาของบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวจึงราคาแพง

ก่อนอื่นก็ขอสวัสดีปีใหม่ทุกคนที่มาอ่าน blog ของผมก่อนนะครับ สำหรับเรื่องนี้ผมอยากเขียนมานานแล้วแต่ก็ละไว้ไม่ได้เขียนเสียที พอดีช่วงปีใหม่กลับบ้านมาไปช่วยขายของพ่อเจอลูกค้าหลายรายบอกว่าของที่ขายอยู่ราคาแพงมาก เลยสกิดใจขึ้นมาอยากเล่าให้ฟังกันบ้างว่าทำไมราคาของแถบสถานที่ท่องเที่ยวจึงมีราคาแพง แน่นอนครับหลายๆคนอาจคิดว่าก็มันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมันจึงแพง อย่างนี้ก็มีส่วนถูกสำหรับบางพื้นที่ครับ แต่ไม่ใช้ถูกทั้งหมด หลายๆ คนบอกว่าพ่อค้าอากเอากำไร อันนี้ก็ถูกเหมือนกันครับ แต่ไม่ทั้งหมดเช่นกัน แล้วอะไรเป็นสาเหตุให้สินค้าราคาแพง สำหรับผมจากการที่ครอบครัวผมได้ขายสินค้าและบริการบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวมานานกว่า 5 ปีสามารถสรุปได้คำเดียวครับว่าค่าเช่า เนื่องจากค่าเช่าที่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวมีราคาสูงมากผู้เช่าก็ต้องเพิ่มราคาให้สินค้าและบริการของตนเพื่อที่จะสามารถจ่าค่าเช่าร้านและมีกำไรเหลือเพื่อการใช้จ่ายและดำรงค์ชีวิต หลายๆ คนอาจจะคิดว่าจะสักเท่าไหร่เชียว แต่สำหรับครอบครัวผมซึ่งประกอบอาชีพบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวบอกได้เลยว่าราคาสูงมากยกตัวอย่างเช่นบริเวณร้านที่ครอบครัวผมเช่าอยู่มีขนาด 7x6 ตารางเมตร มีราคาค่าเช่าร้านอยู่ที่ 350000 บาทต่อปี คิดเป็น 29166.67 บาทต่อเดือน 958.9 ต่อวัน หากคิดแล้วราคานี้คงแพงพอๆ กับการเช่าสถานที่ในห้างหรูๆ เพื่อที่จะขายสินค้า แต่สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแล้วไม่เหมือนกัน เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวนั้นไม่มีลูกค้าทุกวัน อีกทั้งการท่องเที่ยวจะมีฤดูการท่องเที่ยวเป็นช่วงๆ เท่านั้น แล้วจะเว้นช่วงไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งลักษณะดังนี้ทำให้บางฤดูจะไม่สามารถขายสินค้าและบริการได้เลย ถ้าเป็นโรงแรมจะปลดพนักงานออกกันเป็ว่าเล่นทีเดียวเพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงนี้ ราคาสินค้าต่างๆ จึงแพงเพื่อถัวเฉลี่ยยกัน แต่กระนั้นก็ไม่เป็นเช่นนี้ทุกร้านไปหากร้านใหนมีสถานที่เป็นของตัวเองการเพิ่มราคาสินค้าให้สูงก็เป็นเพราะต้องการกำไรนั้นมากๆ นั้นเองร้านแบบนี้หากลองต่อราคาดูจะลดลงได้บ้าง สำหรับผมแล้วคิดว่าราคาบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวแพงกว่าเป็นเรื่องปรกติหากเราไม่อยากซื้อของแพง เราก็ควรเตรียมตัวไปให้พร้อม :D มิฉะนั้นก็ต้องแลกเอาระหว่างความสะดวกกับราคา แต่สำหรับสินค้าบางอย่างราคาสามารถเพิ่มลดได้ เนื่องจากสินค้าบางประเภทมีกำไรค่อนข้างมากนั้นเอง เช่น ของที่ระลึกต่างๆ สำหรับผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวแล้วต้องการสินค้าและบริการบางประเภท แนะนำให้ลองต่อราคาดู ว่าเจ้าของร้านลดให้หรือไม่ ถ้าเขาไม่ลดให้ก็ไม่ต้องเซ้าซี้หรือบอกว่าที่นี่ถูกกว่าหรือที่กรุงเทพฯถูกกว่านะครับ ถ้ามันแพงและรับไม่ได้ก็ออกจากร้านไปเลยก็ได้ครับไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าพูดในลักษณะที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น แล้วโดนเจ้าของร้านตะเพิดออกมาก็ช่วยไม่ได้ครับ :( เพราะว่าที่ลดไม่ได้คือลดแล้วขายถึงแม้จะกำไรเล็กน้อยแต่มันหมายถึงการขาดทุนค่าเช่าด้วยเช่นกันดั่งนั้นโปรดเห็นใจเจ้าของร้านบ้างนะครับ :) อีกทั้งการบอกว่ากรุงเทพถูกกว่านั้นเห็นทีจะจริงครับ แต่อย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าต่างๆ มายังแหล่งท่องเที่ยวก็มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน ดังนั้นราคาทุนย่อมไม่เท่ากันอย่างแน่นอน
แล้วส่วนใหญ่ชาวกรุงเทพฯ ทั้งหลายมักถามหาราคาคนไทยบริเวณที่นักท่องเที่ยวเป็นชาวต่างชาติเยอะๆ เช่นกระบี่(บ้านผมอยู่กระบี่) ภูเก็ต ผมตอบได้เลยว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นราคาเดียวกัน เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวชาวไทยน้อยกว่าชาวต่างชาตินั้นเอง แต่อาจจะมีเจ้าของร้านใจดีลดให้บ้างตามแต่โอกาศอำนวย การแก้ไขราคาสินค้าที่แพงเป็นเท่าตัวบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวนี้ต้องแก้กันเป็นระบบครับ เนื่องจากหากเราดูที่ภาษีเจ้าของที่เขาจะทำสัญญาเช่าไว้สองฉบับฉบับแรกจะมีราคาต่ำกว่าที่ให้เช่าเพื่อเลี่ยงภาษี ฉบับที่สองเป็นราคาจริง ส่งผลให้ภาครัฐมักไม่ทราบว่าราคาค่าเช่าจริงอยู่ที่เท่าไร(ผมเดาเอานะครับว่าภาครัฐมักดูจากภาษี) จึงไม่ติดใจสงสัยกัน แต่ถึงแม้ว่าจะดูก็ไม่ามารถทำอะไรได้อยู่ดีเนื่องจากเป็นข้อตกลงกัน ระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่านั้นเอง ภาระราคาสินค้าจึงตกอยู่ที่นักท่องเที่ยวอยู่ดี สรุปแล้วต้องแก้ที่เราครับ แต่ว่าหลายๆ คนอาจจะแย้งว่าถ้าไม่ซื้อเศรฐกิจก็ไม่ดีซิ ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ครับ แต่จะให้ผู้ขายทำอย่างไรได้หากลดราคาให้เท่ากับกรุงเทพฯ ก็อาจจะต้องเสี่ยงภาวะขาดทุนค่าเช่าเอาได้ดื้อๆ เหมือนกัน ซึ่งตอนนี้หลายๆ ร้านคงประสบอยู่เช่นกันรวมถึงครอบครัวผมด้วย :( ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือผู้ที่ขายสินค้าด้วยกันจะต่อกันคำสองคำแล้วจะไม่ต่อเพิ่มเพราะเข้าใจสถานการณ์ดีนั้นเอง บางทีร้านสะดวกซื้อที่เราซื้อกันราคาปรกติแต่พอไปอยู่ที่สถานที่ท่องเที่ยวอาจแพงขึ้นอย่างไม่รู้ตัวก็ได้ครับ ไม่เชื่อลองสังเกตดู :D
สุดท้ายนี้ผมไม่ได้บอกให้ทุกท่านปฏิเสธสินค้าและบริการตามสถานที่ท่องเที่ยวแต่ก็ควรจะเห็นใจผู้ขายบ้าง และเข้าใจว่าส่วนหนึ่งของราคาสินค้าที่แพงขึ้นเป้นเพราะตัวแปรค่าเช่าสถานที่ หากไม่สามารถรับราคาสินค้านี้ได้ก็ ขอบคุณสักครับแล้วเดินออกกจะเป็นการดี ดีกว่าพูดกระแนะกระแหน๋ใส่กันนะครับ :)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวเอ๋ยตัวผม

กลอนนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเขียนขึ้นมาในห้องเรียนวิชาสัมนา 1 เพราะอาจารย์อยากให้แนะนำตัวเองเป็นกลอน ไม่รู้จะแต่งว่าไงเลยแต่งออกมาเป็นดอกสร้อย เห็นว่าพอใช้ได้เลยเอามาลงไว้เป็นอนุสร ๏ ตัวเอ๋ยตัวผม นิยมในพระพุทธศาสนา ตั้งจิตตั้งใจตั้งหน้า ใฝ่หาความรู้สู่ตน ตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ ชำนาญในศาสตร์ที่ฝึกฝน ฝึกจิตฝึกสันดานให้เป็นคน เป็นชนในชาติที่ดีเอย ๚ะ๛

บันทึกการจัดงานศพ: พิธีฌาปนกิจศพ

ตรงส่วนนี้คงจะเขียนเกี่ยวกับพิธียกศพออกจากบ้าน และเกร็ดต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากที่จัดงานจะไม่นิยมไว้ศพที่วัด จะไว้ศพที่บ้าน และถ้าเป็นไปได้จะไว้ศพในบ้านเสียด้วยซ่ำ เมื่อถึงวันฌาปนกิจศพ หรือเผาศพ ก็จะมีการเซ่นไหว้ครั้งใหญ่ก่อนเคลื่อนย้ายศพไปวัดเพื่อฌาปนกิจ เครื่องเซ่นไว้จะประกอบไปด้วย ข้าว 5 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง หัวหมู ไก่ต้ม ไข่ต้ม หมูสามชั้นต้ม หมี่เหลืองผัด กุ้ง หอย ปู ปลา ผลไม้ 5 อย่าง ขนมขึ้น เมื่อมีการเซ่นไหว้ทุกครั้งจะต้องมี สัปรด น้ำชา 3 จอก เหล้าขาว 5 จอก(หลานๆ บอกว่าเจ็คไม่กินเหล้าขาว แต่มีคนบอกว่าเป็นการไหว้ตามประเพณี ^^ ) ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมาย แต่ผมจำไม่ได้ต้องหาอีกครั้งนึง ตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อถึงพิธีเซ่นไหว้ จะมีการเซ่นไหว้โดยแบ่งออกเป็นคณะ แต่เพื่อความสะดวกและรวบรัดจึงมีการไหว้เพียงไม่กี่คณะ ซึ่งก็เหมือนเดิมคือผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าจะไม่รวมการเซ่นไหว้ครั้งนี้ คณะแรกจะเป็นผู้ไกล้ชิดผู้ตายมากที่สุดเริ่มตั้งแต่ลูกและภรรยา หลังจากนั้นก็จะเป็นน้องๆ แล้วก็หลานๆ และก็มิตรรักและผู้คนที่นับถือผู้ตาย หากเป็นเมื่อสมัยก่อนนั้น ต้องแยกออกเป็นเขย เป็นสะไภ้ ไหว้กันหลายยกหล

ด้วยระลึกถึงคุณย่า บันทึกจากความทรงจำ

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อบันทึกความทรงจำของผมที่มีต่อคุณย่าที่ล่วงลับไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนคืน คุณย่าเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ร้อยครอบครัวใหญ่ของเราเอาไว้ไม่ให้แตกแยก หลังจากที่เสียคุณปู่ไปเมื่อ 23 ปีก่อน เนื่องจากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก แต่มักจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาไทยนานแล้ว จากการการสังเกตของผม ชาวจีนแถบนี้โดยมากน่าจะเป็นชาว เปอรานากัน หรือชาวจีนที่อพยพมาจากจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมลายูหรืออินโดนีเซีย แล้วหลังจากนั้นจึงอพยพมาอาศัยต่อที่ประเทศไทย จากการบอกเล่าของคุณแม่ ก๋งเคยเล่าให้ฟังว่าตอนยังเด็กเคยแจวเรือจ้างอยู่ที่ปีนัง คุณย่าเคยเล่าว่าเป็นชาวฮกเกี้ยน อีกทั้วจากรูปวาดคุณย่าทวดที่มีการเกล้ามวยผม สวมเสื้อคอลึก ส่วนทางบ้านมีการใช้คำเรียกจีนผสมไทยถิ่นใต้อยู่มาก ผู้หญิงทุกคนนิยมสวมผ้าปาเต๊ะ เสื้อลูกไม้ (เสื้อฉลุลายดอกไม้) อาหารการกินเป็นแบบชาวไทยถิ่นใต้ทุกประการ (กินน้ำพริก แกงส้มเก่งกันทุกคน ยกเว้นก๋ง :D) อีกทั้งก๋งเกิดที่ดินแดนแถบนี้ไม่ได้เดินทางมาจากเมืองจีน (บางทีเรียก เตี่ยต่อเตี่ย คือ ทวดมาจากจีน ส่วนสถานที่เกิดไม่แน่ใจว่าเป็นปีนังหรือไทย)