บรรพบุรุษบ้านผมเป็นชาวจีนเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่สมัยรุ่นทวด ก๋งผม(ปู่) เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนต้นบรรพบุรุษเห็นจะได้แต่ท่านเกิดที่เมืองไทย(สัญนิฐานจาก สัญชาติไทย และชื่อของแม่ท่านเป็นชื่อไทย อาม่าผมเท่าให้ฟังว่าท่านมีเชื้อสายมุสลิมซึ่งก็น่าจะเป็นคนไทย) ประวัติบรรพบุรุษรุ่นทวดค่อนข้างเลือนลางเนื่องจากผู้รู้ดีคือก๋งผม ท่านได้จากเราไปนานแล้ว ท่านไม่สอนให้ลูกหลานพูดภาษาจีน จึงสัญนิฐานว่าน่าจะใช้ชีวิตอยู่ในสมัยจอมพล ป. พิบูญสงคราม(เนื่องจานโยบายชาตินิยม) จึงมีการเปลี่ยนนามสกุลจากแซ่ลิ่ม เป็นลิ่มนา นี่เป็นประวัติคร่าวๆ ของตระกูลผมเพื่อจะนำมาประกอบกับ บันทึกการจัดการศพ ซึ่งเป็นงานศพของเจ็ค(ออกเสียงตามสำเนียงใต้) อาผู้ชายซึ่งเป็นน้องของพ่อนั้นเอง เหตุที่เขียนบันทึกนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับการจัดการศพที่ผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีน เนื่องจากศพเจ็คผมเป็นศพแรกที่มีการจัดการศพในลักษณะนี้ เพราะก่อนหน้านี้จะใช้วีธีการฝังตลอดมานั่นเอง และคาดว่ามันจะเลือนหายไปอีกในไม่ช้านี้
สถานที่จัดงานศพคือ ต.คลองพน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ผมไม่สามารถกลับจากหาดใหญ่ไปทันตอนนำศพบรรจุโลง(ภาษาถิ่นใต้เรียกใส่โลง) จึงไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ อีกทั้งทางญาติผู้ใหญ่ได้ตกลงกันว่าจะลดทอนพิธีกรรมลงตามความเหมาะสม จึงตัดพิธีกรรมตามธรรมเนียมปฏิบัติลงค่อนข้างมาก เช่น การติดแขนไว้ทุกข์ การต่ออายุคนตาย เป็นต้น ผมจึงเริ่มบันทึกตั้งแต่ผมกลับไปถึงใว้เป็นอนุสรณ์ ไม่ทราบว่าเป็นประเพณีหรือไม่เมื่อมีคนที่บ้านเสียชีวิตลงจะมีการบอกให้ลูกหลายทั้งหลายกลับบ้านเพื่อมาร่วมงานศพโดยมักจะต้องกลับมาให้ทันนำศพบรรจุโลง ถ้าไม่ทันก็ต้องมาไหว้ศพให้ได้โดยเร็ว เนื่องจากต้องการให้ผู้ตายหมดห่วง คราวนี้ผมและญาติพี่น้องที่ไม่ได้เจอกันมานานจึงเจอกันครบในวันนี้ การไว้ศพตามประเภณีถ้าาคนไทยจะใช้ธูปหนึ่งดอก แต่บ้านผมใช้สองดอก อันนี้ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมแต่ทำกันมาอย่างนี้ตลอด ระหว่างงานศพจะมีการจุดธูปดอกใหญ่หนึ่งดอกตลอกโดยห้ามให้ธูปดับหรือขาดช่วงเด็ดขาด รวมไปจนถึงเทียนที่ใช้ในการจุดบูชาศพด้วย แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือตะเกียงลูกไก่ที่ตั้งไว้หน้าศพห้ามดับทุกกรณี ซึ่งสำคัญกว่าธูปและเทียนอีกด้วยซึ่งตะเกียงนี้จะถูกจุดตั้งแต่นำศพบรรจุโลงหรือว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายศพจากโรงพยาบาลก็ตามแต่โอกาสจะอำนวย แล้วก็มีของเซ่นไหว้ศพบ้าง โดยจะมีข้าวหนึ่งถ้วยด้านบนข้าวจะมีไข่ต้มหนึ่งใบ ปักตะเกียบแล้วก็ช้อน ผลไม้ตามสมควร และแน่นอนที่ขาดไม่ได้ชาสามถ้วย กระดาษเงินกระดาษทอง
การแต่งกายไว้ทุกข์งานนี้ค่อนข้างจะแปลกกว่างานอื่นตรงที่ ผู้ที่มีอายุมากกว่าจะไม่นิยมแต่งดำไว้ทุกข์ทุกวัน โดยที่อาม่าของผมพูดไว้ว่า "คนแก่ไว้ทุกข์ คนตายบาป" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใส่สีอะไรก็ได้นะครับ เป็นสีไม่ฉูดฉาดเกินไป ออกโทนคล่ำ ขาว หรือว่ามีลวดลายบ้างก็ได้ตามแต่สมควร อาจเป็นเพราะว่า ผู้สูงอายุกว่าอาจจะโศกเศร้าเสียใจมากเมื่อผู้น้อยเสียชีวิต เพื่อป้องกันการโศกเศร้ามากเกินไปจึงใช้วิธีนี้ก็เป็นได้ ตลอดจนห้ามญาติผู้สูงด้วยศักดิ์จุดธูปหรือไหว้ศพผู้น้อย ด้วยเกรงว่าคนตายจะมีห่วง ย่า ป้า(ก้อ) พ่อ ลุง(แป๊ะ) จะไม่ไหว้ศพเลยสักคนครับ จะตั้งเครื่องเซ่นก็จะเรียกลูกหลานให้มาจุดธูปบอกแทน ก่อนลาเครื่องเซ่นอีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือการเผากระดาษเงินกระดาษทอง
งานศพที่นี่มีสิ่งหนึ่งที่ชุมชนเมืองทั้งหลายไม่มีคือการร่วมทำบุญด้วยแรง คือใครมีฝีมือทำอาหารก็มาทำกับข้าวใครไม่มีก็ล้างถ้วยชาม หรือยกกับข้าวตามแต่ถนัดช่วยกันตั้งแต่เช้าจนดึกสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำใครกรีดยางเสร็จก็มาช่วยกลางวันตอนเย็นกลับเพราะต้องกรีดยางต่อ ครู นักเรียนก็มาตอนเย็นจนพระสวดเสร็จ อย่างนี้เป็นต้น เจ้าภาพเสียเงินค่ากับข้าวอย่างเดียว เนื่องจากที่นี้มาตอนใหนก็มีข้าวกินจะว่าอย่างนั้นก็ได้ ชา ชาเย็น โอวัลติล กาแฟ ชาดำเย็น(แต่โอเลี้ยง-ออกเสียงสำเนียงใต้ มีเซิร์ฟมานานจนเป็นธรรมเนียม ชาเย็น โอวันติล กาแฟเย็น พึ่งมีในยุคหลังๆ ) มีให้กินตลอด แต่มือชงไม่ค่อยอาชีพหรือว่าน้ำตาลถูกก็ไม่รู้หวานกว่าปรกติ :)
นอกจากนี้ยงมีการนำเงินร่วมทำบุญด้วยโดยส่วนใหญ่จะให้ตอนก่อนจะกลับ แต่ที่นี้ไม่มีซองตั้งไว้ให้นะครับ เพราะถือว่าใครจะมาทำบุญ ก็จะเตียมกันมาเองเพื่อแสดงน้ำใจ แต่สามารถขอซองที่เจ้าภาพได้เช่นกัน เมื่อมีผู้มาทำบุญก็จะมีการมอบบัตรกำหนดการบำเพ็ญกุศลศพที่ผูกด้ายแดงเรียกว่าบัตรขอบคุณ อีกทั้งของชำรวยอีกหนึ่งชิ้นซึ่งก็เรียกว่าอั่งเปาอีกเช่นกัน
เนื่องจากที่นี่ไม่มีคณะสงฆ์จีน การบำเพ็ญกุศลศพจึงใช้ประเพณีไทยมานานคือการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรม โดยใช้ธรรมเนียมไทยปรกติทั่วไปคือการนิมนต์พระสี่รูป สวดบทพระอภิธรรมเจ็ดพระคัมภีร์ และมีการบังสกุลโดยปรกติทั่วไป เคาะโลงรับศีล เคาะโลงเรียกกินข้าว แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านที่นี่ปฏิบัติกัน และชาวเมืองไม่มีนั้นก็คือ เครื่องบูชาพระ โดยแบ่งออกเป็นเครื่องบูชาพระพุทธ ซึ่งเหมือนทั่วไปตามปรกติ แต่จะมีเครื่องบูชาพระธรรมที่ตู้พระธรรม ชุดหมากขอศีล กรวยดอกไม้ธูปเทียบูชาพระสงฆ์ เครื่องกรวดน้ำ ซึ่งแต่ละอย่างมีรายระเอียดแตกต่างกันไป
เครื่องบูชาพระพุทธ เครื่องกรวดน้ำ กวยบูชาพระสงฆ์ ชุดหมากขอศีล
เครื่องบูชาหน้าตู้พระธรรม โดยจะนำพระคัมภีร์ขึ้นมาข้างบนด้วย ในที่นี่จะเป็นบทพระมาลัย
นอกจากเรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ตามชนบทจะมีการเล่นการพนันในงานศพด้วย การเล่นการพนันนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่มิอาจทราบได้ แต่เท่าที่ผมจำความได้ผมก็เห็นมันแล้ว การเล่นการพนันที่นี่มีอย่างนึงที่สืบทอดวัฒนธรรมชาวจีนมานั้นก็คือการเล่นไพ่ขาว หรือไพ่นกขาว ไพ่ขาวเรียกตามลักษณะไพ่ที่มีพื้นหลังมีสีขาวด้านหน้าจะเป็นรูปต่างๆ ประกอบกับตัวหนังสือจีน เวลาเล่นต้องมีไม้ไผ่ยาวๆ หนึ่งอันที่ปลายพันเป็นปมด้วยยางเรียกว่าไม้จั่ว ใช้สำหรับหยิบไพ่จากกองมาเล่น เนื่องจากไผ่มีขนาดเล็กและการหยิบไผ่จากกองจะค่อนข้างลำบากจึงต้องมีอุปกรณ์เสริม สำหรับวิธีการเล่นอันนี้บอกไม่ได้ครับเพราะผมก็เล่นไม่เป็นเหมือนกัน :) เนื่องจากตัวหนังสือจีนและการจำอักษรภาพจึงทำให้ไพ่ชนิดนี่เล่นยากสำหรับคนรุ่นใหม่ ผมลองนับอายุคนเล่นดูวงละ 6 คน ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 420 ปี ทีเดียว หลังจากเลิกเล่นไพ่ขาวแล้วไพ่จะถูกทิ้งซึ่งก็เป้นเรื่องน่าเสียดายที่ต้องเสียไพ่จำนวนมากในแต่ละสำหรับไป คนโบราณจึงนำมาทำที่รองหม้อข้าว หม้อแกง หรือที่รองของร้อนใช้งานกัน อีกทั้งสมัยก่อนใช้ฟื้นในการประกอบอาหารการได้ที่รองหม้อดีๆ มาใช้จะช่วยให้เขม่าจากควันฟื้นไม่เปลื้อนอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย เรื่องการรีไซเคิลคนไทยมีมานานแล้วนะครับ ไม่ได้พึ่งจะมามีในสมัยนี้ การเล่นในแต่ละรอบเจ้ามือจะมีการชักเงินออกจากองที่ได้เป็นค่าต้อง(สำเนียงใต้) ให้คืนกับเจ้าภาพงานศพด้วย ซึ่งเงินนี้ในแต่ละวันเป็นจำนวนมากทีเดียว (นับๆ ดูแล้วอาจจะมากกว่าเงินทำบุญงานศพก็เป็นได้)
สถานที่จัดงานศพคือ ต.คลองพน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ผมไม่สามารถกลับจากหาดใหญ่ไปทันตอนนำศพบรรจุโลง(ภาษาถิ่นใต้เรียกใส่โลง) จึงไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ อีกทั้งทางญาติผู้ใหญ่ได้ตกลงกันว่าจะลดทอนพิธีกรรมลงตามความเหมาะสม จึงตัดพิธีกรรมตามธรรมเนียมปฏิบัติลงค่อนข้างมาก เช่น การติดแขนไว้ทุกข์ การต่ออายุคนตาย เป็นต้น ผมจึงเริ่มบันทึกตั้งแต่ผมกลับไปถึงใว้เป็นอนุสรณ์ ไม่ทราบว่าเป็นประเพณีหรือไม่เมื่อมีคนที่บ้านเสียชีวิตลงจะมีการบอกให้ลูกหลายทั้งหลายกลับบ้านเพื่อมาร่วมงานศพโดยมักจะต้องกลับมาให้ทันนำศพบรรจุโลง ถ้าไม่ทันก็ต้องมาไหว้ศพให้ได้โดยเร็ว เนื่องจากต้องการให้ผู้ตายหมดห่วง คราวนี้ผมและญาติพี่น้องที่ไม่ได้เจอกันมานานจึงเจอกันครบในวันนี้ การไว้ศพตามประเภณีถ้าาคนไทยจะใช้ธูปหนึ่งดอก แต่บ้านผมใช้สองดอก อันนี้ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมแต่ทำกันมาอย่างนี้ตลอด ระหว่างงานศพจะมีการจุดธูปดอกใหญ่หนึ่งดอกตลอกโดยห้ามให้ธูปดับหรือขาดช่วงเด็ดขาด รวมไปจนถึงเทียนที่ใช้ในการจุดบูชาศพด้วย แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือตะเกียงลูกไก่ที่ตั้งไว้หน้าศพห้ามดับทุกกรณี ซึ่งสำคัญกว่าธูปและเทียนอีกด้วยซึ่งตะเกียงนี้จะถูกจุดตั้งแต่นำศพบรรจุโลงหรือว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายศพจากโรงพยาบาลก็ตามแต่โอกาสจะอำนวย แล้วก็มีของเซ่นไหว้ศพบ้าง โดยจะมีข้าวหนึ่งถ้วยด้านบนข้าวจะมีไข่ต้มหนึ่งใบ ปักตะเกียบแล้วก็ช้อน ผลไม้ตามสมควร และแน่นอนที่ขาดไม่ได้ชาสามถ้วย กระดาษเงินกระดาษทอง
การแต่งกายไว้ทุกข์งานนี้ค่อนข้างจะแปลกกว่างานอื่นตรงที่ ผู้ที่มีอายุมากกว่าจะไม่นิยมแต่งดำไว้ทุกข์ทุกวัน โดยที่อาม่าของผมพูดไว้ว่า "คนแก่ไว้ทุกข์ คนตายบาป" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใส่สีอะไรก็ได้นะครับ เป็นสีไม่ฉูดฉาดเกินไป ออกโทนคล่ำ ขาว หรือว่ามีลวดลายบ้างก็ได้ตามแต่สมควร อาจเป็นเพราะว่า ผู้สูงอายุกว่าอาจจะโศกเศร้าเสียใจมากเมื่อผู้น้อยเสียชีวิต เพื่อป้องกันการโศกเศร้ามากเกินไปจึงใช้วิธีนี้ก็เป็นได้ ตลอดจนห้ามญาติผู้สูงด้วยศักดิ์จุดธูปหรือไหว้ศพผู้น้อย ด้วยเกรงว่าคนตายจะมีห่วง ย่า ป้า(ก้อ) พ่อ ลุง(แป๊ะ) จะไม่ไหว้ศพเลยสักคนครับ จะตั้งเครื่องเซ่นก็จะเรียกลูกหลานให้มาจุดธูปบอกแทน ก่อนลาเครื่องเซ่นอีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือการเผากระดาษเงินกระดาษทอง
งานศพที่นี่มีสิ่งหนึ่งที่ชุมชนเมืองทั้งหลายไม่มีคือการร่วมทำบุญด้วยแรง คือใครมีฝีมือทำอาหารก็มาทำกับข้าวใครไม่มีก็ล้างถ้วยชาม หรือยกกับข้าวตามแต่ถนัดช่วยกันตั้งแต่เช้าจนดึกสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำใครกรีดยางเสร็จก็มาช่วยกลางวันตอนเย็นกลับเพราะต้องกรีดยางต่อ ครู นักเรียนก็มาตอนเย็นจนพระสวดเสร็จ อย่างนี้เป็นต้น เจ้าภาพเสียเงินค่ากับข้าวอย่างเดียว เนื่องจากที่นี้มาตอนใหนก็มีข้าวกินจะว่าอย่างนั้นก็ได้ ชา ชาเย็น โอวัลติล กาแฟ ชาดำเย็น(แต่โอเลี้ยง-ออกเสียงสำเนียงใต้ มีเซิร์ฟมานานจนเป็นธรรมเนียม ชาเย็น โอวันติล กาแฟเย็น พึ่งมีในยุคหลังๆ ) มีให้กินตลอด แต่มือชงไม่ค่อยอาชีพหรือว่าน้ำตาลถูกก็ไม่รู้หวานกว่าปรกติ :)
นอกจากนี้ยงมีการนำเงินร่วมทำบุญด้วยโดยส่วนใหญ่จะให้ตอนก่อนจะกลับ แต่ที่นี้ไม่มีซองตั้งไว้ให้นะครับ เพราะถือว่าใครจะมาทำบุญ ก็จะเตียมกันมาเองเพื่อแสดงน้ำใจ แต่สามารถขอซองที่เจ้าภาพได้เช่นกัน เมื่อมีผู้มาทำบุญก็จะมีการมอบบัตรกำหนดการบำเพ็ญกุศลศพที่ผูกด้ายแดงเรียกว่าบัตรขอบคุณ อีกทั้งของชำรวยอีกหนึ่งชิ้นซึ่งก็เรียกว่าอั่งเปาอีกเช่นกัน
เนื่องจากที่นี่ไม่มีคณะสงฆ์จีน การบำเพ็ญกุศลศพจึงใช้ประเพณีไทยมานานคือการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรม โดยใช้ธรรมเนียมไทยปรกติทั่วไปคือการนิมนต์พระสี่รูป สวดบทพระอภิธรรมเจ็ดพระคัมภีร์ และมีการบังสกุลโดยปรกติทั่วไป เคาะโลงรับศีล เคาะโลงเรียกกินข้าว แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านที่นี่ปฏิบัติกัน และชาวเมืองไม่มีนั้นก็คือ เครื่องบูชาพระ โดยแบ่งออกเป็นเครื่องบูชาพระพุทธ ซึ่งเหมือนทั่วไปตามปรกติ แต่จะมีเครื่องบูชาพระธรรมที่ตู้พระธรรม ชุดหมากขอศีล กรวยดอกไม้ธูปเทียบูชาพระสงฆ์ เครื่องกรวดน้ำ ซึ่งแต่ละอย่างมีรายระเอียดแตกต่างกันไป
- เครื่องบูชาหน้าตู้พระธรรม ก็จะเหมือนเครื่องบูชาพระพุทธ แต่จะเพิ่มหมาก 7 คำ ซึ่งอาจจะหมายถึงการสวดพระอภิธรรมเจ็ดพระคัมภีร์ก็น่าจะเป็นได้(เป็นการสัญนิฐานของผมเองนะครับ) โดยเครื่องบูชานี้จะจุดก่อนที่จะกล่าวคำอาราธนาธรรมแล้วพระสงฆ์จะเริ่มสวดพระอภิธรรมบทที่ขึ้นด้วย กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา ...
- ชุดหมากขอศีลจะประกอบไปด้วยหมาก 5 คำ ธูปสามดอก เทียนหนึ่งเล่ม ดอกไม้ตามแต่สมควร จะใช้จุดธูปเทียนตอนกล่าวคำอาราธนาศีล(ขอศีล) มะยังภันเต วิสุงวิสุงฯ คาดว่าน่าจะใช้บูชาพระรูปที่จะให้ศีลเนื่องจากจะตั้งบูชาที่พระรูปแรกเสมอและมีการประเคนก่อนด้วย (พระรูปแรกมักจะให้ศีล)
- กรวยดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระสงฆ์ ไม่แน่ใจว่ามีหมากพลูด้วยหรือเปล่า จะใช้ตอนที่มีการถวายซองปัจจัยโดยจะเรียกว่าผู้ที่ต้องการถวายว่าเป็นเจ้าภาพสวด และเรียกลักษณะนานเป็นเตียง(น่าจะใช้กันทั่วภาคใต้เพราะได้ยินบ่อย) เมื่อเจ้าภาพสวดถวายซองบนพานแล้วก็จะนำกรวยดอกไม้ทับแล้วก็ถวายพระ
- เครื่องกรวดน้ำ จะประกอบด้วยดอกไม้หนึ่งดอก ธูปสามดอก เทียนหนึ่งเล่ม หมากหนึ่งคำ(จะม้วนพลูเป็นกรวยแล้วกดหมากไว้ในกรวย) เนื่องจากคนไทยมีความเชื่อว่าแม่พระธรณีจะเป็นผู้รับบน้ำที่อุทิศให้กับผู้ตาย น่าจะเป็นเครื่องบูชาแม่พระธรณีนั้นเอง
นอกจากเรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ตามชนบทจะมีการเล่นการพนันในงานศพด้วย การเล่นการพนันนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่มิอาจทราบได้ แต่เท่าที่ผมจำความได้ผมก็เห็นมันแล้ว การเล่นการพนันที่นี่มีอย่างนึงที่สืบทอดวัฒนธรรมชาวจีนมานั้นก็คือการเล่นไพ่ขาว หรือไพ่นกขาว ไพ่ขาวเรียกตามลักษณะไพ่ที่มีพื้นหลังมีสีขาวด้านหน้าจะเป็นรูปต่างๆ ประกอบกับตัวหนังสือจีน เวลาเล่นต้องมีไม้ไผ่ยาวๆ หนึ่งอันที่ปลายพันเป็นปมด้วยยางเรียกว่าไม้จั่ว ใช้สำหรับหยิบไพ่จากกองมาเล่น เนื่องจากไผ่มีขนาดเล็กและการหยิบไผ่จากกองจะค่อนข้างลำบากจึงต้องมีอุปกรณ์เสริม สำหรับวิธีการเล่นอันนี้บอกไม่ได้ครับเพราะผมก็เล่นไม่เป็นเหมือนกัน :) เนื่องจากตัวหนังสือจีนและการจำอักษรภาพจึงทำให้ไพ่ชนิดนี่เล่นยากสำหรับคนรุ่นใหม่ ผมลองนับอายุคนเล่นดูวงละ 6 คน ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 420 ปี ทีเดียว หลังจากเลิกเล่นไพ่ขาวแล้วไพ่จะถูกทิ้งซึ่งก็เป้นเรื่องน่าเสียดายที่ต้องเสียไพ่จำนวนมากในแต่ละสำหรับไป คนโบราณจึงนำมาทำที่รองหม้อข้าว หม้อแกง หรือที่รองของร้อนใช้งานกัน อีกทั้งสมัยก่อนใช้ฟื้นในการประกอบอาหารการได้ที่รองหม้อดีๆ มาใช้จะช่วยให้เขม่าจากควันฟื้นไม่เปลื้อนอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย เรื่องการรีไซเคิลคนไทยมีมานานแล้วนะครับ ไม่ได้พึ่งจะมามีในสมัยนี้ การเล่นในแต่ละรอบเจ้ามือจะมีการชักเงินออกจากองที่ได้เป็นค่าต้อง(สำเนียงใต้) ให้คืนกับเจ้าภาพงานศพด้วย ซึ่งเงินนี้ในแต่ละวันเป็นจำนวนมากทีเดียว (นับๆ ดูแล้วอาจจะมากกว่าเงินทำบุญงานศพก็เป็นได้)
ไพ่ขาว ด้านหลังจะมีสีขาว แต่จะมีหัวไพ่ที่ประทับตราสีแดง คล้าย แจ็ค คิง
หลังจาการนำไพ่ขาวมาแปรรูปเป็นที่รองหม้อ
หลังจาการนำไพ่ขาวมาแปรรูปเป็นที่รองหม้อ
สุดท้ายนี้เรื่องที่ผมบันทึกเหล่านี้เป็นเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากในสังคมเมืองในปัจจุบัน แต่ยังอนุรักษ์ หรือสืบสานกันในท้องถิ่นต่างๆ อย่ามองว่างานศพเป็นงานอวมงคลที่ไม่น่าจดจำ แต่มันเป็นคติสอนคนเป็นได้ดีกว่างานมงคลทั้งหลายเสียอีก ยังมีตอนสองเป็นเป็นพิธีเซ่นไหว้ผู้ล่วงลับก่อนยกศพให้ติดตามชมกันต่อนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น